องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

จี๋กุ๊ก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Amomum sp.

วงศ์   ZINGIBERACEAE

ภาคเหนือ    จี๋กุ๊ก กุ๊ก    ภาคกลาง  -

ภาคอีสาน     -        ภาคใต้   -

จี๋กุ๊กเป็นพืชวงศ์เดียวกับขิง ข่า และขมิ้น มีเหง้าใต้ดิน ชูใบขึ้นเหนือพื้นดินเป็นกอสูง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม กาบใบที่โคนต้นมีสีน้ำตาลแดง ช่อดอกแทงจากเหง้าใต้ดิน มีกาบรองช่อดอกซ้อนกันแน่น สีเขียวปนแดง มักแตกหน่อและออกดอกในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นในดินชุ่มชื้น มีอินทรียวัตถุสูง หรือตามชายป่าใกล้ลำธาร

การขยายพันธุ์ : แยกเหง้าหรือแยกหน่อ

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ช่อดอกอ่อนกินเป็นผักสด หรือนำมาลวกกินกับน้ำพริก บ้างนำมาใส่ในแกงปลาย่างรวมกับดอกลิงลาวและชะอม เพื่อช่วยดับกลิ่นคาว มีรสเผ็ดเล็กน้อย

แหล่งที่พบ : บริเวณที่มีความชุ่มชื้น หรือริมห้วยรอบหมู่บ้าน