องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ความเป็นมาของโครงการ

การดำเนินงานในโครงการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ และจัดทำแผนการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะ 3 ปี (2559 – 2561) จะมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ สารสนเทศเพื่อรองรับการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงาน ศักยภาพของบุคลากร และองค์ความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ผ่านเครื่องมือทางการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเป็นการพัฒนาต่อยอดให้ระบบสารสนเทศจัดการความรู้สามารถตอบสนองต่อการใช้งาน

ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในการช่วยการตัดสินใจของบุคลการในการใช้ความรู้ในการทำงาน และของประชาชนในการติดตามข้อมูลข่าวสารของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ซึ่งการนำไปใช้งานจะมีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นประเภทและรูปแบบของข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ใช้ รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ที่ต้องสะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่การใช้งาน (Mobility) ผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย ซึ่งจะทำให้ระบบสารสนเทศจัดการความรู้สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ปฏิบัติงานในการทำงาน และพัฒนางาน และผู้บริหารระดับสูงที่ใช้ในการตัดสินใจ รวมไปถึงการทำงานเชื่อมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร

สุดท้ายทำให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สามารถยกระดับความสามารถในการปฏิบัติราชการต่อไป

การดำเนินงานโครงการ

อ้างอิงจาก : รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ และจัดทำแผนการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะ 3 ปี (2559 – 2561)

แผนการจัดการองค์ความรู้

การจัดการความรู้ Knowledge Management เป็นวิธีการบริหารที่จำเป็นสำหรับการบริหารยุคใหม่ ในเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) หรือระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นกับการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้และสารสนเทศการจัดการความรู้ มุ่งเน้นการจัดการเพื่อใช้และพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่อยู่ในองค์กรหรือ Tacit Knowledge ซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ในการทำงาน การแก้ปัญหาและตัดสินใจในงานจริงขององค์กร โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ของบุคลากรในองค์กรให้สามารถสื่อสารกัน เพื่อการค้นคว้าแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจ ได้อย่างรวดเร็วทันการณ์เพื่อเป็นการบูรณาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านการพัฒนาองค์กรบุคลกรและสร้างองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

องค์ความรู้โครงการหลวง

คำนิยาม องค์ความรู้โครงการหลวง

องค์ความรู้โครงการหลวงที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่สูงซึ่งนำไปสู่การผลิตและการถ่ายทอดนวัตกรรม และความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้าน

  • 1. องค์ความรู้ด้านอาชีพ
  • 2. องค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ และป่าไม้)
  • 3. องค์ความรู้ด้านชุมชน
  • 4. องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม

องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้เป็นองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการทดลอง ศึกษาวิจัยว่าเหมาะสมกับพื้นที่สูงและนำมาทดสอบขยายผลปฏิบัติในพื้นที่ของโครงการหลวงของแต่ละพื้นที่เพื่อหาความเหมาะสมแล้วจึงขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่ของโครงการหลวงเป็นหลัก และขยายสู่ชุมชนนอกพื้นที่ตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้อยู่ภายใต้การส่งเสริมแนะนำดูแลและควบคุมคุณภาพของโครงการหลวง

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูง

คำนิยาม องค์ความรู้ สวพส.

องค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการทดลอง ศึกษาวิจัยว่าเหมาะสมกับพื้นที่สูงและนำมาทดสอบขยายผลปฏิบัติในพื้นที่ของโครงการหลวงของแต่ละพื้นที่เพื่อหาความเหมาะสมแล้วจึงขยายผลสู่ชุมชนในพื้นที่ของโครงการหลวงเป็นหลัก และขยายสู่ชุมชนนอกพื้นที่ตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้อยู่ภายใต้การส่งเสริมแนะนำดูแลและควบคุมคุณภาพของโครงการหลวง

ความหมายของความรู้

ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ความหมายของ KM

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

  1. บรรลุเป้าหมายของงาน
  2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
  3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
  4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

กระบวนการจัดการความรู้

  • สิ่งที่กำหนดก่อนเริ่ม คือ เป้าหมายเคเอ็ม และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม
  • สิ่งที่มีในแต่ละกิจกรรม คือ ตัวบ่งชี้ของกิจกรรม และเป้าหมายของกิจกรรม

แบบที่ 1 ตามแนว กพร.

กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้

  • การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร
  • การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม
  • การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน
  • การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
  • การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น
  • การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ

แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้

  1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร
  2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
  3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน
  4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
  5. การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้
  6. การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน

แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์

กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้

  1. การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้
  2. การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร
  3. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
  4. การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้
  5. การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้
  6. การวัดประเมินผลการจัดการความรู้

ความสำคัญของการจัดการองค์ความรู้

การจัดการความรู้ Knowledge Management เป็นวิธีการบริหารที่จำเป็นสำหรับการบริหารยุคใหม่ในเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) หรือระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นกับการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้และสารสนเทศการจัดการความรู้ มุ่งเน้นการจัดการเพื่อใช้และพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่อยู่ในองค์กรหรือ Tacit Knowledge ซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ในการทำงาน การแก้ปัญหาและตัดสินใจในงานจริงขององค์กร โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ของบุคลากรในองค์กรให้สามารถสื่อสารกัน เพื่อการค้นคว้าแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันการณ์เพื่อเป็นการบูรณาการบริหาร และจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านการพัฒนาองค์กรบุคลกรและสร้างองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

อ้างอิงจาก : โครงการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ และจัดทำแผนการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะ 3 ปี (2559 – 2561)