องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ดอกกุยช่ายไต้หวัน

ชื่อวิทยาศาตร์    Allium tuberosum 

ชื่อสามัญ  Chinese Chives Flowers

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]

ลักษณะทั่วไป กุยช่ายไต้หวัน นิยมบริโภคส่วนก้านดอกที่อวบไม่เหนียว และดอกตูม สีขาวอมเขียวอ่อน มีกลิ่นคล้ายกระเทียม นิยมรับประทานแพร่หลายในประเทศจีน และไต้หวัน ดอกให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าใบกุยช่ายมี รสชาติอร่อยหอมหวานนิยมนำมาผัด ให้คุณค่าวิตามิน C และแคลเซียมสูง

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว : [2]

ช่วงเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวหลังจากย้ายปลูก 120 วัน หรือ จากการแยกกอ 90 วัน

การเก็บเกี่ยว

1. เก็บเกี่ยวโดยการหักบริเวณโคนก้านดอก ที่ยังไม่แก่

2. ตัดแต่งบริเวณโคนก้านดอกออกเล็กน้อย เพื่อป้องกันการเน่า

3. บรรจุลงในลังที่รองด้วยกระดาษทั้ง 4 ด้าน แล้วเรียงเป็นชั้นๆแต่ละชั้นกั้นด้วยกระดาษสีขาว

4. อย่าให้ได้รับแสงหลังจากเก็บเกี่ยว เพราะจะก่อให้เกิดการงอของก้านดอก

ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ : คุณภาพขั้นต่ำ เป็นดอกกุยช่ายไต้หวัน ทั้งดอกและก้านมีรูปร่างลักษณะและสีตรงตามพันธุ์ ไม่มีตำหนิจากสาเหตุใดๆ

การจัดชั้นคุณภาพ

ชั้นหนึ่ง  1. ความยาวของก้านดอก 25 – 30 เซนติเมตร

      2. ดอกมีลักษณะแบน ไม่บาน สีขาวอมเขียว

      3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ข้อกำหนดในการจัดเรียง : ดอกกุยช่ายที่อยู่ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน มีชั้นคุณภาพเดียวกัน และมีคุณภาพสม่ำเสมอ

 

เอกสารอ้างอิง :

[1] หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง

[2] ตุลาคม 2545.คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผัก.กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์