องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เบงเหลี่ยม(มะขามแป)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Archidendron clypearia (Jack) I.C.Nielsen

วงศ์   LEGUMINOSEA-MIMOSOIDEAE

ภาคเหนือ กาสะท้อน ไคร้ยอง แดงเลื่อม เบงเหลื่อม มะขามแป เล็บมืน

ภาคกลาง มะขามแป

ภาคอีสาน คางฮุงหลวง ถ่อนภู หัสกึน เหมือดหยวก

ภาคใต้ เงินวา เณรหวา มะกล่ำตาช้าง ยมวา

เบงเหลื่อมเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบ กิ่งและช่อดอก มีขนสั้นๆ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เวียนสลับ ใบแก่ด้านล่างมีขนสีน้ำตาล  ใบย่อยรูปขอบขนาน เรียงตรงข้าม ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาว ฝักบิดโค้งม้วนเป็นเกลียว สีส้มอมแดง เมล็ดกลมรีสีดำเป็นมันห้อยติดอยู่

สภาพนิเวศ : พบทั่วไปในป่าทุกชนิดทางภาคเหนือ จนถึงระดับความสูง 1,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

การขยายพันธุ์ :  เพาะเมล็ด

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ชาวปางมะโอนำใบมา ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกายและบำรุงเลือด

แหล่งที่พบ : พบทั่วไปในป่ารอบชุมชน