องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

หมากปู๊ (หมากผู้หมากเมีย)

ชื่อสามัญ  Cordyline, Ti plant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cordyline fruticosa (L.) Gopp.

วงศ์  AGAVACEAE

ภาคเหนือ หมากปู๊ ภาคกลาง หมากผู้หมากเมีย  ภาคอีสาน ภาคใต้ -

หมากปู๊เป็นไม้พุ่มที่มีเนื้อไม้ ลำต้นกลม ใบเดี่ยวเวียนสลับรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม สีต่างๆ กัน เช่น สีเขียว สีแดง หรือสีม่วงเข้ม ดอกเป็นช่อกระจายแยกแขนงออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีใบประดับช่อดอกที่โคนช่อ ดอกย่อยเรียงตัวเป็นกระจุกแน่น ผลกลม เมื่อสุกสีแดงหรือม่วงเข้ม มีเนื้อนุ่ม

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นใกล้แหล่งน้ำ ที่มีความชุ่มชื้น หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดรำไร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ดอกอ่อนออกช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม รสขมอมหวาน ชาวปางมะโอนิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก โดยเฉพาะน้ำพริกปลาจ่อม หรือเป็นส่วนประกอบของแกงแค แกงปลาแห้ง ส่วนตำรับเด็ดของชาวปางมะโอ คือ แกงรวมกับเห็ดลม

แหล่งที่พบ : พบทั่วไปตามรั้วบ้าน พื้นที่เกษตร บางครัวเรือนปลูกไว้เป็นไม้ประดับรอบบ้าน