องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau

วงศ์  ACANTHACEAE

ภาคเหนือ พญายอ ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด ภาคกลาง พญาปล้องทอง เสลดพังพอนตัวเมีย  ภาคอีสาน ภาคใต้ -

พญายอเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นกลมเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก สีเขียวเข้ม ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอด สีส้มแดง ผลรูปไข่ เมื่อแก่แตกออกภายในมี 4 เมล็ด

สภาพนิเวศ : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด

การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนมีรสมัน นำมาลวกกินกับน้ำพริก หรือเป็นส่วนประกอบของแกงแค และแกงใส่หน่อไม้แทนใบย่านางเพื่อลดความขม

แหล่งที่พบ : พบปลูกตามรั้วบ้าน และแปลงผักสวนครัวทั่วไป

เกร็ดน่ารู้ : ลำต้น กิ่ง และใบของพญายอ มีสารประกอบ Sulfur containing glucosides, C-glycosyl flavones และ Lupeol ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคเริม ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากพญายอ สำหรับใช้รักษาเริม และงูสวัด มีหลายรูปแบบ ทั้งครีม เจล และโลชั่นพญายอ