องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ผักกูด (ผักกูดหลวง)

ชื่อสามัญ  Paco

ชื่อวิทยาศาสตร์  Diplazium esculentum (Retz.) Sw.

วงศ์  ATHYRIACEAE

ภาคเหนือ ผักกูด กูดกิน ผักกูดหลวง  ภาคกลาง ผักกูด ภาคอีสาน ภาคใต้ หัสดำ

ผักกูดเป็นพืชไม่มีดอกจำพวกเฟิร์นที่มีต้นขนาดใหญ่ มีเหง้าทอดเลื้อยตามผิวดิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบย่อยบาง โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก ยอดใบอ่อนม้วนงอ ใต้ใบมีอับสปอร์สีน้ำตาลเรียงตามแนวเส้นใบ

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือตามลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่าน มีแสงแดดรำไร ปลูกได้ตามชายคลอง และห้วยหนอง

การขยายพันธุ์ : แยกกอและเพาะสปอร์

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนใช้ผัดกับน้ำมันหอย กินสดหรือลวกกับน้ำพริก รสจืดอมหวาน มีเมือกอ่อนๆ ตอนเคี้ยว บ้างนำมาแกงหรือต้มใส่กระดูกหมู (จอ)

แหล่งที่พบ : พบตามริมห้วย หรือที่ชุ่มชื้นในป่า