ไค้มันปลา
ไค้มันปลา มีชื่อเรียก ทางภาคเหนือว่า ไค้มันปลา ส่วนภาคกลางเรียกว่า มันปู สำหรับภาคใต้จะเรียก มันปู หรือมันปูใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Glochidion wallichianum Mll. Arg.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ไค้มันปลาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้แข็ง เปลือกต้นหลุดลอกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรี ยอดอ่อนสีม่วงหรือแดงระเรื่อ ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด สีเหลืองหรือส้ม ผลกลมแห้ง หยักเว้าเป็นพู 5-6 พู ผลแก่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดสีดำ
สภาพนิเวศ : ขึ้นในป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนออกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน รสหวานมัน กินเป็นผักสดกับน้ำพริกและลาบ
แหล่งที่พบ : พบทั่วไปในป่าธรรมชาติหรือสวนเมี่ยง แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น “ไค้มด” ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรสฝาด