องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

17 พันธุ์พืชขึ้นทะเบียนบนพื้นที่สูง

พันธุ์พืชขึ้นทะเบียน คืออะไร

คือ พันธุ์พืชที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน (ร.พ.1) ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม


หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการจดแจ้งชื่อพันธุ์พืชเปรียบเสมือนการทำบัตรประจำตัวพันธุ์พืช เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการคิดค้นและปรับปรุงพันธุ์พืช อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

เจตนารมณ์เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช และเป็นหลักฐานแสดง การจดแจ้งชื่อพันธุ์และรายละเอียดของพันธุ์ โดยกรมวิชาการเกษตรจะขึ้นทะเบียนให้กับพันธุ์พืชที่มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ หรือพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกจากพันธุ์เดิมจนเป็นพันธุ์ใหม่หรือพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศโดยยังมีชื่อและลักษณะเช่นเดิม

 สวพส. ได้คัดเลือกพันธุ์พืช ซึ่งผ่านการปลูกทดสอบ และผ่านการคัดเลือกจากนักวิจัยว่าเป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่สูงในลักษณะต่างๆ ดังนี้


งาขี้ม่อน 4 พันธุ์

1.งาขี้ม่อน พันธุ์หอมปางมะผ้า (Hom Pang-ma-pha) ลักษณะเด่นพิเศษ เป็นสายพันธุ์ งาขี้ม่อนพันธุ์กลาง เก็บเกี่ยวช้ากว่างาขี้ม่อนพันธุ์เบาประมาณ 22 วัน ทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากฝนตกในช่วงทำการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝนได้ หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1965/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566

2.งาขี้ม่อน พันธุ์หอมสุโขทัย (Hom Sukothai) ลักษณะเด่นพิเศษ เป็นสายพันธุ์งาขี้ม่อนพันธุ์หนักที่เก็บเกี่ยวในช่วงที่ไม่มีฝน และให้ผลผลิตสูง (389.31 กิโลกรัมต่อไร่) กว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากฝน และสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1966/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566

3.งาขี้ม่อน พันธุ์หอมแม่จัน (Hom Mae-Chan) ลักษณะเด่นพิเศษ เป็นสายพันธุ์งาขี้ม่อนพันธุ์เบา ออกดอกไวกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้เกษตรกรมีโอกาสทางการตลาดที่ดีในการจำหน่ายงาขี้ม่อนในต้นฤดูกาล หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1967/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566

4.งาขี้ม่อน พันธุ์หอมน่าน (Hom Nan) ลักษณะเด่นพิเศษ เป็นสายพันธุ์งาขี้ม่อนพันธุ์กลาง เก็บเกี่ยวช้ากว่างาขี้ม่อนพันธุ์เบาประมาณ 20 วัน ทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากฝนตกช่วงทำการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1968/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566



กาแฟอะราบิกา (Coffea arabica L.) 

1.กาแฟพันธุ์อาร์พีเอฟ-ซี3 (RPF-C3) ลักษณะเด่นพิเศษ เจริญเติบได้ดีบนพื้นที่สูง ทนทานต่อโรคราสนิม ให้ผลผลิตต่อต้นสูงเฉลี่ย 2 ปี เฉลี่ย 3,815 กรัมต่อต้น และคุณภาพการชิมคะแนนดีเยี่ยม ได้มากกว่า 80 คะแนน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1759/2564 วันที่ 28 ธันวาคม 2564

2.กาแฟพันธุ์อาร์พีเอฟ-ซี4 (RPF-C4) ลักษณะเด่นพิเศษ เจริญเติบได้ดีบนพื้นที่สูง ทนทานต่อโรคราสนิม ให้ผลผลิตต่อต้นสูงเฉลี่ย 2 ปี เฉลี่ย 4,030 กรัมต่อต้น และและคุณภาพการชิมคะแนนดีเยี่ยม ได้มากกว่า 80 คะแนน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1760/2564 วันที่ 28 ธันวาคม 2564


กัญชง (Cannabis sativa L.) 8 พันธุ์

1.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 1 (RPF1) ลักษณะเด่นพิเศษ ปริมาณสาร Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) เฉลี่ยต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณสาร Cannabidiol (CBD) เฉลี่ยสูงกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 052/2554 วันที่ 10 ตุลาคม 2554

2.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 2 (RPF2) ลักษณะเด่นพิเศษ ปริมาณสาร Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) เฉลี่ยต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณสาร Cannabidiol (CBD) เฉลี่ยสูงกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 053/2554 วันที่ 10 ตุลาคม 2554

3.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 3 (RPF3) ลักษณะเด่นพิเศษ ปริมาณสาร Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) เฉลี่ยต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณสาร Cannabidiol (CBD) เฉลี่ยสูงกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 054/2554 วันที่ 10 ตุลาคม 2554

4.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 4 (RPF4) ลักษณะเด่นพิเศษ ปริมาณสาร Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) เฉลี่ยต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณสาร Cannabidiol (CBD) เฉลี่ยสูงกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 055/2554 วันที่ 10 ตุลาคม 2554

5.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 5 (RPF5) ลักษณะเด่นพิเศษ เส้นใยสูงกว่าร้อยละ 20 ปริมาณสาร THC เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ต่อน้ำหนักแห้ง (ร้อยละ 0.017) สัดส่วนปริมาณสาร Cannabidiol (CBD)/ THC สูงกว่า 10 เท่า ผลผลิตตนสด 6.77 ตันต่อไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 120 วัน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1695/2564 วันที่ 21 กันยายน 2564

6.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 6 (RPF6) ลักษณะเด่นพิเศษ เส้นใยสูงกว่าร้อยละ 20 ปริมาณสาร THC เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ต่อน้ำหนักแห่ง (ร้อยละ 0.027) สัดส่วนปริมาณสาร Cannabidiol (CBD)/ THC สูงกว่า 10-15 เท่า ผลผลิตต้นสด 6.08 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 120 วัน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1696/2564 วันที่ 21 กันยายน 2564

7.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 7 (RPF7) ลักษณะเด่นพิเศษ เส้นใยร้อยละ 18-20 ปริมาณสาร THC เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ต่อน้ำหนักแห่ง (ร้อยละ 0.02545) สัดส่วนปริมาณสาร Cannabidiol (CBD)/ THC สูงกว่า 10 เท่าผลผลิต ต้นสด 7.36 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 120 วัน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1697/2564 วันที่ 21 กันยายน 2564

8.กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์อาร์พีเอฟ 8 (RPF8) ลักษณะเด่นพิเศษ เส้นใยสูงกว่าร้อยละ 20-26 ปริมาณสาร THC เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ต่อน้ำหนักแห่ง (ร้อยละ 0.0738) สัดส่วนปริมาณสาร Cannabidiol (CBD)/ THC สูงกว่า 5 เท่า ผลผลิตต้นสด 5.39 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 120 วันหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1698/2564 วันที่ 21 กันยายน 2564

อ่านเพิ่มเติม...ขึ้นทะเบียนพันธุ์กัญชง (Hemp) สำคัญอย่างไร? ได้ที่ https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/1482


ผัก 3 พันธุ์

1.ผักกาดหวาน พันธุ์ “CS1” ลักษณะเด่นพิเศษ ใบซ้อนกันเป็นช่อ ไม่แสดงอาการต้นบิดเมื่อปลูกในฤดูฝน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1607/2563 วันที่ 2 กันยายน 2563

2.ถั่วแขก พันธุ์ “OB 01” ลักษณะเด่นพิเศษ ไม่แสดงอาการฝักเป็นจุดสีม่วงเมื่อปลูกในฤดูฝน หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1608/2563 วันที่ 2 กันยายน 2563 

3.ถั่วแขก พันธุ์ “OB 03” ลักษณะเด่นพิเศษ รสชาติหวานกรอบ จำนวนฝักต่อช่อสูง หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 1609/2563 วันที่ 2 กันยายน 2563  



ที่มา : สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2563. คู่มือและคำแนะนำการจดทะเบียนคุ้มครองพันธพืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนและพันธุ์พืชรับรองตามพระราชบัญญั ติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม. 45 หน้า

 

เขียนและเรียบเรียงโดย สายทอง อินชัย และ หัทยา พัฒนะพงศ์พันธุ์ สำนักวิจัย สวพส.