องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...สู่การเป็นธนาคารคาร์บอนบนพื้นที่สูง

เป็นที่ทราบกันดีว่า…..การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีของโครงการหลวง มีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยลดปัญหาการเผาและหมอกควัน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟูและดูแลรักษาอย่างยั่งยืน โดยในแต่ละบริบทชุมชนจะมีระบบเกษตรที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหมุนเวียน การทำเกษตรแบบประณีตภายใต้ระบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรผสมผสาน ทั้งการปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลหรือพืชเกษตรยืนต้น ปศุสัตว์ รวมถึงการทำวนเกษตรบนพื้นที่สูง โดยรูปแบบการผลิตในระบบเกษตรนั้นๆ จะส่งผลต่อปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินและการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพของต้นไม้และพืชที่แตกต่างกัน

ด้วยกลไกของต้นไม้และพืชที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการสังเคราะห์แสง และตรึงคาร์บอนไปเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ทั้ง ลำต้น กิ่ง ใบ ในรูปของมวลชีวภาพ ในขณะเดียวกันเศษซากพืชที่หลุดร่วง ยังถูกย่อยสลายและถูกเก็บสะสมในรูปของอินทรีย์คาร์บอนในดิน ดังนั้น ดิน ต้นไม้ และพืช จึงทำหน้าที่เป็น "แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ” แต่ในปัจจุบันปริมาณคาร์บอนสะสมในดินและมวลชีวภาพของต้นไม้หรือพืชลดลง อันเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากที่เป็นป่ามาเป็นพื้นที่การเกษตร กิจกรรมทางการเกษตรต่างๆ เช่น การไถพรวนในการเตรียมพื้นที่ปลูกพืช การใช้ปุ๋ยเคมี การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นต้น

ฉะนั้น...การให้ความสำคัญกับการใช้พื้นที่ภาคเกษตรเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยการปรับระบบเกษตรด้วยระบบการปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน รวมถึงมีการจัดการกิจกรรมทางการเกษตรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จะช่วยเพิ่มการสะสมคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทสำคัญที่มีผลต่อภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป


 ในบทตอนนี้ เราจะพาไปหาคำตอบกันว่า ในแต่ละรูปแบบระบบเกษตรตามบริบทพื้นที่สูง จะมีการกักเก็บคาร์บอนในดิน เท่าไหร่กัน ! ! ! 
บริบทพื้นที่ปลูกข้าวโพด/ข้าวไร่ ความสูงพื้นที่ น้อยกว่า 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จังหวัดน่าน



บริบทพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


บริบทพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว (ความสูง ตั้งแต่ 500-1000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) จังหวัดเชียงใหม่



แล้ว การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพนั้น จะมี มาก น้อย แค่ไหน กันนะ อยากรู้แล้วสิ ! ! ! เอาเป็นว่า เราคงต้องติดตามกัน ในตอนต่อไป


 เขียน/เรียบเรียงเรื่องโดย : นางสาวกมลทิพย์ เรารัตน์ และ นางสาวอลญา ชิวเชนโก้