องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เส้นทางจากดอยสูงสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

.วิกฤตการณ์โลกร้อนและภัยพิบัติธรรมชาติเกิดจากมนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินสมดุล…..

“ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข ก่อนสายเกินไป”

เร่งเครื่อง ชุมชนคาร์บอนต่ำ...กุญแจสำคัญลดโลกร้อน

หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการรักษา ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลยั่งยืน ควบคู่ไปกับการปรับระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันคำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่มีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ (1) การผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงาน และการคมนาคม (2) การเกษตรและปศุสัตว์ (3) การผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ของโรงงานอุตสาหกรรม และ (4) ของเสียและสิ่งปฏิกูล

มูลนิธิโครงการหลวง และ สวพส. จึงวางแผนยกระดับกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาให้เกิดความสมดุลยั่งยืนมากยิ่งขึ้น 

ภายใต้กรอบแนวคิด “คนอยู่ร่วมกับป่าและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามวิถีชีวิตของชุมชนชาวเขาและบริบทพื้นที่สูง” โดยประยุกต์ใช้

·      หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมบนฐานความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมพื้นที่สูง

·      หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชน

·      การบูรณาการระหว่างหน่วยงานและชุมชน เพิ่มระดับการมีส่วนร่วม (Participation) และการร่วมกันทำ (Collaboration)

ผลของความสำเร็จ คือ .....ชุมชนเข้าใจ เรียนรู้ และเริ่มปรับพฤติกรรมเดิมสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำที่ลดกิจกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจก....

“ร่วมด้วยช่วยกัน...ความปังจะบังเกิด”

แนวทางที่ชุมชน...ทำได้...

1)  ลดการสร้างมลพิษในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เช่น ใช้ชีวภัณฑ์และฟีโรโมนแทนสารเคมีเกษตร ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ลมและน้ำ แทนพลังงงานถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล ใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า น้ำมันไบโอดีเซล เดินทางร่วมกันและขนส่งสาธารณะ ลดของเสียจากการบริโภคและการผลิต

2) รักษาพื้นที่สีเขียวและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น

ปลูกพืชในโรงเรือน ใช้น้ำแบบประหยัด ซ่อมบำรุงอุปกรณ์แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ผลิตซ้ำแล้วประกอบใช้ใหม่ แปรสภาพเป็นวัสดุใหม่ ดูแลรักษาทรัพยากรดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ พืช และสัตว์

3) ขับเคลื่อนงานพัฒนาด้วยแผนชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุดความรู้ที่เน้น พัฒนาคน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีแรงจูงใจ และรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน พัฒนางาน โดยกำหนดแผนชุมชนที่ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้านและระบบบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายตามหลักความพอประมาณ สมเหตุสมผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี การใช้ความรู้ และมีคุณธรรม และ จัดการแหล่งงบประมาณ ทั้งภายในและภายนอกชุมชนสำหรับใช้ดำเนินงานอย่างเหมาะสม

 

2 เรื่องนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

โปรแกรม Web Base Application แบบตรวจประเมินผลการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนตามแนวทาโครงการหลวงภายใต้ความร่วมมืองานวิจัยและพัฒนาของมูลนิธิโครงการหลวง มหาวิทยาลัยมหิดล Guangdong Academy of Agricultural Sciences (GDAAS), People's Republic of China (PRC) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบการประมวลค่าคะแนน เพื่อให้ชุมชน เจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการตรวจประเมินนำไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้นในการวางแผนและวัดผลการเข้าร่วมกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

· ศูนย์เรียนรู้ชุมชนลดก๊าซเรือนกระจกบนพื้นที่สูง ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตคาร์บอนต่ำบนดอยในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 28 แห่ง ที่ได้รับโล่รางวัลจากศูนย์วิจัยตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เบื้องต้นก่อนดังนี้


เขียน/เรียบเรียงโดย

ดร.สุมาลี เม่นสิน นักวิจัย

นางสาวอภิรดี อภิชัย

นางสาววัลภา อูทอง นางสาวภัทราพร จิ๋วอยู่ เจ้าหน้าที่โครงการฯ

สำนักวิจัย สวพส.