ปรับ “น่าน” เปลี่ยน Change for Better Life: เทคโนโลยีดิจิตัลเปลี่ยนชีวิตที่ดีกว่า
ปรับ “น่าน”เปลี่ยน
ตอนที่ 2 Change for Better Life: เทคโนโลยีดิจิตัลเปลี่ยนชีวิตที่ดีกว่า
เรียบเรียงโดย : นางสาวเพียงออ ศรีเพ็ชร นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา 5
ข้อมูลและภาพโดย
1. กลุ่มเกษตรกรปางแก-มณีพฤกษ์
2. นายสมบัติ สารใจ หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
3. นายประสิทธิ์ จ๊ะแต๊ะ เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
4. นางสาวนลินนุช วังกาวี เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
บ้านปางแก-มณีพฤกษ์ ชุมชนพี่น้องม้งในอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อีกหนึ่งพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็นพื้นที่เยี่ยมเยียนซึ่งอยู่ห่างไกลจากสำนักงานของโครงการมาก ทำให้การติดต่อหรือการเดินทางนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก สำหรับพื้นที่เยี่ยมเยียนนี้จะไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ในพื้นที่ การปรับตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างง่ายผ่าน Smart Phone โดยใช้แอพพลิเคชั่น “Line” สร้างกลุ่มไลน์เกษตรกรชื่อ “ปางแก-มณีพฤกษ์ สู้ๆ” โดยกลุ่มไลน์นี้สามารถทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน นัดหมายประชุม ติดตามงาน ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางติดตามงาน แก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ทันท่วงที ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าโทรศัพท์ และยังช่วยบันทึกข้อมูล รูปภาพกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคต่างๆ ระหว่างเกษตรกรด้วยกันได้อีกด้วย
ดังนั้น การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิตัลให้กับกลุ่มผู้นำเกษตรกรควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ จึงจำเป็นสำหรับเกษตรกรบนพื้นที่สูงอย่างมาก เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศไทยคือเป็นพื้นที่ทุรกันดารและอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งทำให้ชุมชนบนพื้นที่สูงขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ จากภาครัฐ และเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาทั้งด้านความยากจน การขาดองค์ความรู้ และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ตามมา ในการทำงานพัฒนาพื้นที่สูงตามแนวทางโครงการหลวงจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ข้อมูล และเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้การทำงานเกิดผลสำเร็จและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ชุมชนอยู่ดีมีสุข พึ่งพาตนเอง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053-328496-8 โทรสาร:053-328494, 053-328229 Email: [email protected]
Facebook: https://www.facebook.com/hrdi.or.th/
Youtube: https://www.youtube.com/user/HRDIPublicOrg/videos
หมายเหตุ
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ (สำนักงาน ก.พ. https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp)
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย: นางสาวเพียงออ ศรีเพ็ชร นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา 5