ฟักมะพร้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis pepo
ชื่อสามัญ Table Ace/Summer Squash
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]
ลักษณะทั่วไป ฟักมะพร้าวลักษณะผลคล้ายหยดน้ำ และมีลักษณะเป็นแฉกๆ ผิวสีเขียวเข้มเปลือกและเนื้อแข็ง เนื้อมสีเหลือง
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร สามารถประกอบอาหารได้เหมือนฟักทองทั่วไป หรือหั่นตามยาวเป็นชิ้นๆ นำไปอบกับเนย และน้ำตาลทรายแดงจะได้รสชาติที่อร่อย ผลที่แก่จัดสามารถนำมาประดับตกแต่ง เนื่องจากสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว : [2]
ช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากย้ายปลูกประมาณ 3 เดือนหรือเมื่อขั้วผลแห้ง ผลแก่เต็มที่
การเก็บเกี่ยว
1. เก็บเกี่ยวเมื่อดัชนีการเก็บเกี่ยวเหมาะสม โดยใช้กรรไกรตัดขั้วเก็บผลที่ดี ไม่มีตำหนิจากโรค แมลง หรืออื่นๆ
2. จัดชั้นคุณภาพแล้วบรรจุในตะกร้าพลาสติก หรือเข่ง
3. ขนส่งโดยรถธรรมดาหรือรถห้องเย็น
ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ คุณภาพขั้นต่ำ เป็นฟักมะพร้าวทั้งผล แก่จัด รูปร่างลักษณะ และสีตรงตามพันธุ์ ผิวเป็นมัน มีขั้วผลที่สมบูรณ์ ไม่มีตำหนิจากโรคหรือแมลง ปลอดภัยจากสารเคมี
การจัดชั้นคุณภาพ
ชั้นหนึ่ง 1. น้ำหนักผลตั้งแต่ 250 กรัมขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตรขึ้นไป มีสีเดียวกันทั้งผล
2. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้นสอง 1. น้ำหนักผลตั้งแต่ 150 – 250 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 8 เซนติเมตร อาจจะมีสีผิวสีอื่นที่เกิดจากการไม่ได้รับแสงบ้างไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนในภาชนะบรรจุ
2. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้น U 1. น้ำหนักผลตั้งแต่ 150 – 250 กรัม
2. มีตำหนิหรือผิวสีอื่นได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนในภาชนะบรรจุ
3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ข้อกำหนดในการจัดเรียง ฟักมะพร้าวในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน ชั้นคุณภาพเหมือนกัน และมีคุณภาพสม่ำเสมอ
การเก็บรักษา อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 - 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 1 – 3 เดือน
ช่วงเวลาที่มีผลผลิต : ก.ค. - มี.ค.
เอกสารอ้างอิง :
[1] หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง
[2] ตุลาคม 2545.คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผัก.กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์