ฟักบัทเตอร์นัท
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata
ชื่อสามัญ Butternut
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]
ลักษณะทั่วไป
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร เป็นฟักแบบเดียวกับฟักทอง แต่หน้าตาออกไปทางน้ำเต้าซะมากกว่า เปลือกสีเหลืองอ่อน เนื้อสีเหลืองส้ม เนื้อแน่น รสหวาน มัน ใช้ประกอบอาหารแทนฟักทองได้ ทั้งหวานทั้งคาว นิยมเอาไปทำขนม เช่น พาย เค้ก ขนมปัง หรือทำซุป คล้ายฟักทอง มีทั้งเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ซี แคลเซียม และเส้นใย
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว : [2]
ช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากย้ายปลูกประมาณ 3 เดือนหรือเมื่อขั้วผลแห้ง ผลแก่เต็มที่
การเก็บเกี่ยว
1. เก็บเกี่ยวเมื่อดัชนีการเก็บเกี่ยวเหมาะสม โดยใช้กรรไกรตัดขั้วเก็บผลที่ดี ไม่มีตำหนิจากโรค แมลง หรืออื่นๆ
2. จัดชั้นคุณภาพแล้วบรรจุในตะกร้าพลาสติก หรือเข่ง
3. ขนส่งโดยรถธรรมดาหรือรถห้องเย็น
ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ คุณภาพขั้นต่ำ เป็นฟักบัทเตอร์นัททั้งผล แก่จัด รูปร่างลักษณะ และสีตรงตามพันธุ์ ผิวเป็นมัน มีขั้วผลที่สมบูรณ์ ไม่มีตำหนิจากโรคหรือแมลง ปลอดภัยจากสารเคมี
การจัดชั้นคุณภาพ สำหรับรับประทาน
ชั้นหนึ่ง 1. น้ำหนักผล 500 กรัมขึ้นไป มีสีเดียวกันทั้งผล
2. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้นสอง 1. น้ำหนักผล 300 – 500 กรัม
2. รูปร่างอาจผิดปกติได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนในภาชนะบรรจุ
3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้น U 1. น้ำหนักผล 300 – 500 กรัม
2. รูปร่างอาจผิดปกติได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนในภาชนะบรรจุ
3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ข้อกำหนดในการจัดเรียง ฟักบัตเตอร์นัทในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน ชั้นคุณภาพเหมือนกัน และมีคุณภาพสม่ำเสมอ
การเก็บรักษา อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 - 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 1 – 3 เดือน
เอกสารอ้างอิง :
[1] หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง
[2] ตุลาคม 2545.คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผัก.กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์