องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ปีบ

 

ชื่อไทย : ปีบ, กาซะลอง

ชื่อท้องถิ่น : กาซะลอง(ยะลา,เหนือ)/ กาดสะลอง(เหนือ)

ชื่อสามัญ : Cork tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ

ใบ :

ประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้ามใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนจะมีขน เส้นแขนงใบข้างละ 3-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-16 มม.

ดอก :

ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ยาว 10-35 ซม. มีขน ดอกสีขาวหรือชมพู กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กโคนติดกันเป็นรูปถ้วน ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง กลีบดอกเป็นหลอดยาวปลายแยก 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. มีกลิ่น

ผล :

แห้งแบบเป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาลหัวท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 ซม.ยาว 25-30 ซม. เมล็ด แบนมีปีกบางจำนวนมาก

ระยะติดดอก - ผล :

เริ่มติดดอก : กันยายน สิ้นสุดระยะติดดอก : พฤศจิกายน

เริ่มติดผล : ตุลาคม สิ้นสุดระยะติดผล : กุมภาพันธ์

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านมากเนื่องจากดอกหอม ทรงพุ่มละเอียด

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

สภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น ถ้าปลูกในดินเหนียวรากจะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ แต่น้ำท่วมขังไม่ได้

โดยการเพาะเมล็ดหรือแยกหน่อที่แตกจากราก

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ดอกแห้ง มีรสหวานขมหอม มวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และบำรุงกำลัง

- ราก มีรสเฝื่อน บำรุงปอด แก้หอบ รักษาวัณโรค [1]

- เนื้อไม้ทำเครื่องเรือนต่างๆ

- รากบำรุงปอด แก้ไอ เหนื่อยหอบ

- ดอก บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง

- ดอกแห้ง นำมามวนกับยาสูบแก้โรคหอบหืด [2]

- ราก เป็นยาบำรุงปอดรักษาวัณโรค

- ดอกสูบแก้ริดสีดวงจมูก

- เปลือกทำจุกก๊อกขนาดเล็ก [4]


ประเภทของการใช้ประโยชน์ :

พืชล่อแมลง

ไม้ยืนต้น

พืชสมุนไพร

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร. [4] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [5] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553