องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

การปลูกข้าวโพดร่วมกับพืชตระกูลถั่วในพื้นที่อาศัยน้ำฝน

การจัดระบบการปลูกพืช

การจัดระบบการปลูกพืชมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในขณะเดียวกันในพื้นที่ลาดชัน ระบบปลูกพืชถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน อย่างไรก็ตามระบบการปลูกพืชยังเป็นมาตราการอันหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ และจะต้องนำมาปฏิบัติในไร่นาของเกษตรกรเพื่อให้เกิดประสิทธิ ภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินพืชที่นิยมใช้ในระบบพืชร่วมกับพืชชนิดอื่นมากที่สุดคือพืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลถั่วเป็นพืชช่วยบำรุงดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มอินทรีย์วัตถุที่ได้จากใบและลำ ต้นแห้งที่ร่วงหล่นสู่ดิน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการคลุมดิน ลดจำนวนวัชพืช รักษาความ ชื้นในดินป้องกันดินและผิวดินไม่ให้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากน้ำฝนและแสงเดด พืชตระ กูลถั่วมีคุณสมบัติที่เด่นหลายประการ ปลูกง่าย โตเร็ว ลำต้นมีใบจำนวนมากเน่าเปื่อยสลายตัวเร็วที่สำคัญที่สุดปมของรากถั่วมีจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเมื่อพืชตระ กูลถั่วสลายตัวจะปลดปล่อยไนโตรเจนที่สะสมไว้ลงสู่ดินทำให้ดินได้รับธาตุไนโตรเจนเพิ่มขึ้นและเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เป็นประโยชน์กับพืชหลักชนิดอื่นที่ปลูกร่วมหรือปลูกตามหลัง พืชตระกูลถั่วนอกจากจะช่วยในการปรับปรุงดินและอนุรักษ์ดินและน้ำแล้วประโยชน์ที่สำคัญคือ ใช้เป็นพืชอาหารของมนุษย์ที่ให้โปรตีนสูง การใช้พืชตระกูลถั่วปลูกร่วมกับพืชหลักจะเป็นประโยชน์ทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้นและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

การปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว

การปลูกพืชเหลื่อมหมายถึงการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันโดยการปลูกพืชที่สองระหว่างแถวของพืชแรกในขณะที่พืชแรกให้ผลผลิตแล้วแต่ยังไม่แก่เต็มที่ส่วนใหญ่การปลูกพืชเหลื่อมนี้จะไม่มีการไถพรวนและเตรียมดินการปลูกพืชเหลื่อมเพื่อต้องการใช้เวลาความชื้น และปุ๋ยที่ตกค้างอยู่ในดินขณะที่พืชแรกรอการเก็บเกี่ยวให้เป็นประโยชน์กับพืชที่ปลูกตามมา กล่าวคือ ช่วยเป็นร่มเงาและรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยไปจากดินได้เป็นอย่างดี การปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วดำเนินการโดย ในปีแรกทำการปลูกข้าวโพดเป็นพืชแรกตอนต้นฤดูฝน หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตและติดฝักให้ผลผลิตแล้วแต่ฝักยังไม่แก่เต็มที่อายุประมาณ 80 วัน ทำการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชที่สองเหลื่อมระหว่างแถวของข้าวโพดต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันดังเช่น ถั่วแปะยี ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วดำ ทำการปลูกโดยไม่มีการไถพรวนหรือเตรียมดิน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดเสร็จแล้วตัดล้มต้นข้าวโพดลงใช้เป็นวัสดุคลุมดินบำรุงดินระหว่างแถวของพืชตระกูลถั่วหรือจะใช้วิธีตัดใบข้าวโพดลงคลุมแปลงเหลือฝักที่แก่แล้วแห้งคาต้นไว้ก็ได้แล้วค่อยเก็บเกี่ยวข้าวโพดทีหลัง เมื่อถั่วที่ปลูกเหลื่อมถึงอายุเก็บเกี่ยวทำการเก็บเกี่ยวถั่วโดยทิ้งเศษซากพืชทึ่คลุมดินยังสามารถช่วยควบคุมวัชพืชในแปลงให้ลดลงได้ ก่อนถึงฤดูฝนปีถัดไปทำการกำจัดวัชพืชที่เหลือที่ขึ้นอยู่บ้างในแปลง เมื่อถึงฤดูฝนทำการปลูกข้าวโพดแบบไม่ไถพรวนและไม่เผาโดยการกระทุ้งหลุมปลูกหรือเจาะหลุมปลูกบนเศษซากข้าวโพดและถั่วหลังจากนั้นเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 8 วันทำการปลูกพืชตระกูลถั่วเหลื่อมเหมือนกับปีแรกต่อเนื่องกันไป

การปลูกข้าวโพดตามด้วยพืชตระกูลถั่ว

การปลูกพืชตาม หมายถึง การปลูกพืชสองชนิดต่อเนื่องกันในหนึ่งฤดูกาลปลูกพืช โดยการปลูกพืชที่สองตามหลังพืชแรก ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว มีการจัดลำดับการปลูกพืชและชนิดของพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ จะทำให้ได้ผลดีทั้งด้านการปรับปรุงบำรุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ และการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การปลูกข้าวโพดตามด้วยพืชตระกูลถั่วดำเนินการโดยในปีแรกทำการปลูกข้าว โพดเป็นพืชแรกตอนต้นฤดูฝน หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตและติดฝักให้ผลผลิตฝักแก่เต็มที่อายุประ มาณ 110 วัน จึงทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด หลังจากนั้นทำการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชที่สองตามระหว่างแถวของข้าวโพดต่อเนื่องกัน เช่น ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วแดงหลวง ถั่วพุ่มดำ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทำการตัดต้นข้าวโพดลง ใช้เป็นวัสดุคลุมดินระหว่างแถวของพืชตระกูลถั่ว เมื่อถั่วที่ปลูกตามถึงอายุการเก็บเกี่ยว ทำการเก็บเกี่ยวถั่วโดยทิ้งเศษเหลือไว้ในพื้นที่ไม่เผาทำลายซากข้าวโพดและถั่วเพื่อเป็นวัสดุคลุมดินบำรุงดินและเศษซากพืชที่คลุมดินยังสามารถช่วยควบคุมวัชพืชในแปลงให้ลดลง ก่อนถึงฤดูฝนปีถัดไปทำการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่บ้างในแปลง เมื่อถึงฤดูฝนทำการปลูกข้าวโพดแบบไม่ไถพรวนโดยการกระทุ้งหลุมปลูกหรือเจาะหลุมปลูกบนเศษซากข้าวโพดและถั่วหลังจากที่ข้าวโพดฝักแก่และเก็บเกี่ยวข้าว โพดทำการปลูกพืชตระกูลถั่วตาม เหมือนกับปีแรกต่อเนื่องกันไป

การปลูกข้าวโพดหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว

การปลูกพืชหมุนเวียนหมายถึงการปลูกพืชสองชนิดหรือมากกว่าหมุนเวียนกันกับพื้นที่เดียว กัน โดยมีการจัดลำดับพืชทีปลูกอย่างมีระบบ และพืชที่ปลูกนั้นที่จะต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่จะต้องเลือกใช้ชนิดของพืชพันธุ์และการจัดเวลาปลูกให้ดีจีงจะได้ผลดีทั้งด้านผล ผลิต การอนุรักษ์ดินและน้ำ และการปรับปรุงบำรุงดิน โดยปกติแล้วในระบบการปลูกพืชหมุน เวียนจะต้องมีพืชตระกูลถั่วร่วมอยู่ด้วย การปลูกข้าวโพดหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว ดำเนินการโดยในปีแรกทำการปลูกข้าวโพด ในปีต่อไปทำการปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนในพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดในปีก่อน และในปีถัดมาก็ทำการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ที่ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปปีต่อปี หรือในพื้นที่แปลงเดียวกันจะแบ่งพื้นที่แปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยแล้วปลูกข้าวโพดและพืชตระ กูลถั่วหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปในแต่ละแปลงย่อยก็ได้ ถ้าจะมีการหมุนเวียนพืชที่ใช้ระยะ3 ปี ก็สามารถทำได้โดยปีแรกทำการปลูกข้าวโพด ปีที่สองปลูกพืชชนิดอื่น เช่น พืชผัก ข้าวไร่ ปีที่ 3 ปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปในกรณีที่สามารถจัดระบบการปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว หรือตามด้วยพืชตระกูลถั่วได้ในหนึ่งฤดูกาลหรือภายใน 1 ปี ก็จะสามารถนำมาใช้ในระบบการปลูกพืชหมุนเวียนนี้ได้ด้วยพืชตระกูลถั่วที่จะนำมาปลูกหมุน เวียนควรจะมีความเหมาะสมกับพื้นที่และสามารถนำมาจัดระบบการปลูกหมุนเวียนกับข้าวโพดได้ในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ

การปลูกข้าวโพดร่วมกับพืชตระกูลถั่วในรูปแบบอื่นๆ

การปลูกข้าวโพดในพื้นที่อาศัยน้ำฝนในบางพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนและการกระจายน้ำฝนที่ไม่เพียงพอที่จะสามารถปลูกพืชตระกูลถั่วเหลื่อมหรือตามในหนึ่งฤดูปลูกพืชได้แต่ก็จะสา มารถปลูกพืชตระกูลถั่วร่วมได้ ดังเช่น การปลูกข้าวโพดพร้อมกับพืชตระกูลถั่ว โดยปลูกไปพร้อมกันในต้นฤดูปลูกพืชตระกูลถั่วที่สามารถปลูกพร้อมกับข้าวโพดได้ ดังเช่น ถั่วพุ่มดำ ถั่วแปะยี ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วเขียว แต่อาจจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วได้ เนื่องจากมีความ ชื้นไม่เพียงพอแต่จะใช้ประโยชน์จากเศษซากพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นการคลุมดินและเพื่อปรับ ปรุงบำรุงดินแก่พื้นที่ปลูกข้าวโพดที่จะปลูกในฤดูกาลถัดไป


เอกสารอ้างอิง :

คู่มือการปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวนและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว.ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)