ไม้ไผ่
ชื่อสามัญ Bamboo Shoot
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
วงศ์ GRAMINEAE
ภาคเหนือ ไม้ไผ่ ภาคกลาง ไผ่ ภาคอีสาน - ภาคใต้ -
ไม้ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว วงศ์เดียวกับหญ้า ลำต้นกลมและกลวงตรงกลาง มีข้อปล้องเพื่อเสริมความแข็งของต้น ใบรูปแถบหรือรูปใบหอกแคบ ช่อดอกออกที่ปลายยอด เมื่ออกดอกแล้วต้นจะตายหรือที่เรียกกันว่า “ไผ่ตายขุย” เมล็ดขนาดเล็กเรียวคล้ายเมล็ดข้าว
สภาพนิเวศ : พบกระจายอยู่ทั่วไปจนถึงความสูง 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำเหง้า ข้อ กิ่ง หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : นำหน่ออ่อนมาแกง ต้มกินกับน้ำพริกหรือยำ ลำต้นนำมาสร้างที่อยู่อาศัย เป็นอุปกรณ์ทางการเกษตร สานตะกร้าใส่เมี่ยง (ก๋วย) และจักตอกสำหรับมัดเมี่ยง
แหล่งที่พบ : พบทั่วไปในชุมชน ป่าธรรมชาติ และตามริมถนน
ในชุมชนปางมะโอพบไผ่ที่ใช้ประโยชน์หลายชนิด เช่น
ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) หน่อนำมาเป็นอาหารและจักตอก
ไผ่เฮี้ยะ (Cephalostachyum virgatum) ตอกมีความเหนียว สานเป็นเครื่องใช้ เช่น แจกัน พานวางดอกไม้ ฯลฯ
ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) หน่อนำมาประกอบอาหาร ลำต้นใช้ในงานก่อสร้าง หรือจักตอก
ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) หน่อนำมาประกอบอาหารและจักตอก
ไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile) ลำต้นใช้ทำกระบอกข้าวหลามและเครื่องจักสาน