เกี๋ยงพา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea lanceolaria (Roxb.) Druce
วงศ์ COMPOSITAE
ภาคเหนือ เกี๋ยงพาลาบ เกี๋ยงพาช้าง เขียงผ่าช้าง ภาคกลาง ต้นน้ำมันก๊าด ภาคอีสาน - ภาคใต้ -
เกี๋ยงพาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นและเส้นกลางใบสีม่วงเข้มถึงดำ มีขนละเอียดตามยอดอ่อนและช่อดอก ใบเดี่ยวเวียนสลับ รูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ช่อดอกแยกแขนง ออกตามยอดหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ผลสีน้ำตาลอ่อน ทรงกระบอกโค้งเล็กน้อย มีขนละเอียด เมล็ดมีขนนุ่มช่วยกระจายพันธุ์
สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นในที่ชื้น อินทรียวัตถุสูง แสงแดดรำไร
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ใบอ่อนมีกลิ่นเฉพาะตัว ชาวบ้านนำมากินเป็นผักสดหรือลวกกินกับน้ำพริก ลาบ ช่วยให้เจริญอาหาร นอกจากนั้นยังเป็นยาสมุนไพรแก้หูน้ำหนวก โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะคั้นเอาน้ำจากใบของเกี๋ยงพา หยอดลงไปในหูข้างที่มีอาการหูน้ำหนวก ส่วนใบตำกับผลส้มป่อยผสมน้ำมันหมูทาแก้ตุ่มคัน
แหล่งที่พบ : พบปลูกบริเวณสวนหลังบ้าน ส่วนในธรรมชาติพบตามริมห้วย