องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

กระชายดำ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Kaempferia parviflora Wall. ex Baker

วงศ์  ZINGIBERACEAE

ภาคเหนือ หัวละแอน  ภาคกลาง กระชายดำ ว่านพระอาทิตย์ ภาคอีสาน ขิงทราย ภาคใต้ -

กระชายดำเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมมีกาบใบอวบหนาหุ้มไว้ ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย รูปรี ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อแทงออกมาระหว่างก้านใบ สีขาวอมชมพู ผลขนาดเล็ก เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็น 3 แฉก ภายในมีเมล็ดขนาดใหญ่

สภาพนิเวศ : พบขึ้นบริเวณป่าดิบชื้น ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและแยกเหง้า

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : นำส่วนของเหง้ามาดองเหล้า ดื่มบำรุงกำลัง

แหล่งที่พบ : พบปลูกในแปลงรวบรวมสมุนไพรของชุมชน และตามสวนหลังบ้าน

เกร็ดน่ารู้ : เหง้าและรากมีรสเผ็ดร้อนขม ใช้เป็นยาบรรเทาการปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และบำบัดโรคกามตายด้าน นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น 1,8-cineol, camphor, d-borneol และ methyl cinnamate