องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ไค้มด

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Glochidion hongkongense M?lll.Arg.

วงศ์   EUPHORBIACEAE

ภาคเหนือ   ไค้มด ไคร้มด        ภาคกลาง             -

ภาคอีสาน             -       ภาคใต้   -

ไค้มดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตามยาว ผิวลำต้นขรุขระ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ โดยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ผลแก่แห้งและแตก มี 6 เมล็ดในหนึ่งผล สีส้มแดง

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง หรือพื้นที่เกษตรที่มีแสงแดดส่องถึง

การขยายพันธุ์ :  เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนมีมากในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ชาวบ้านนิยมนำยอดอ่อนมาจิ้มกินกับน้ำพริกและลาบ มีรสฝาด แตกต่างจากไค้มันปลาที่มีรสหวานมัน

แหล่งที่พบ : เป็นผักป่าที่เก็บหาได้ทั่วไปในป่ารอบชุมชน พื้นที่เกษตรทั่วไป และตามสวนเมี่ยง