พันธุ์กระเทียมไทย
กระเทียม (Garlic)
เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศชนิดที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทย ซึ่งอุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ โดยสารที่พบในกระเทียมมากที่สุดคือ สารอัลลิอิน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารอัลลิซิน เมื่อกระเทียมถูกทุบหรือสับให้แตก โดยสารนี้อยู่ในน้ำมันหอมระเหยของกระเทียมที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
การจำแนกพันธุ์กระเทียมไทย ดังนี้
1. จำแนกโดยอายุเก็บเกี่ยว แบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์เบา อายุเก็บเกี่ยวสั้น 75-90 วัน
- พันธุ์กลาง อายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
- พันธุ์หนัก อายุการเก็บเกี่ยว 150 วัน ขึ้นไป ไม่เป็นที่นิยมปลูก
2. จำแนกตามแหล่งที่มาของพันธุ์ อาทิ
- กระเทียมจากต่างประเทศ ได้แก่ กระเทียมจีน กระเทียมพม่า กระเทียมศรีสะเกษ
- กระเทียมจากภาคกลาง ได้แก่ กระเทียมบางช้าง
- กระเทียมจากภาคเหนือ ได้แก่ กระเทียมเชียงใหม่
3. จำแนกตามฤดูกาลปลูกและเก็บเกี่ยว ซึ่งจะปลูก 2 รุ่นในแต่ละปี ได้แก่
- กระเทียมดอ นิยมปลูกก่อนเก็บเกี่ยวข้าวประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงต้นพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตกระเทียมเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ นิยมทำกระเทียมดอง
- กระเทียมปี นิยมปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโดยปลูกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม (ฤดูหนาวของภาคเหนือ) และเก็บเกี่ยวผลผลิตกระเทียมเดือนมีนาคมถึงเมษายน
ตัวอย่างพันธุ์กระเทียมไทยที่นิยมปลูกในปัจจุบัน
พันธุ์กระเทียม
ประเภท
พื้นที่นิยมปลูก
ลักษณะหัวพันธุ์
1. พันธุ์ตาแดง
กระเทียมพันธุ์เบา อายุเก็บเกี่ยวสั้น 75-90 วัน
บ้านน้ำดุ๊ก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
หัวพันธุ์มีสีขาวเหลือง น้ำหนักหัวพันธุ์เฉลี่ย 15-16 กรัม
2. พันธุ์หยวก
กระเทียมพันธุ์เบา อายุเก็บเกี่ยวสั้น 75-90 วัน
บ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
หัวพันธุ์มีสีขาวเหลือง น้ำหนักหัวพันธุ์เฉลี่ย 7-12 กรัม ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ตาแดง
3. พันธุ์น้ำปาด
กระเทียมพันธุ์กลาง อายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน
บ้านใหม่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
น้ำหนักหัวพันธุ์เฉลี่ยตั้งแต่ 6-20 กรัม มีขนาดหัวและกลีบใหญ่กว่าพันธุ์กระเทียมจากเพชรบูรณ์
4. พันธุ์บ้านโฮ่ง
กระเทียมพันธุ์กลาง อายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน
อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
กลีบและหัวพันธุ์มีสีม่วงชมพู น้ำหนักหัวพันธุ์เฉลี่ย 10-13 กรัม
5. พันธุ์ปาย
กระเทียมพันธุ์กลาง ือายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน
พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ติดกับแม่น้ำปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
กลีบและหัวพันธุ์มีสีขาวเหลือง ขนาดใหญ่ น้ำหนักหัวพันธุ์เฉลี่ย 12-13 กรัม
คุณค่าทางโภชนเภสัชในกระเทียมดิบ 100 กรัม ประกอบด้วย
ประโยชน์ของกระเทียมต่อสุขภาพ
1. ลดระดับไขมันในเลือด
2. ลดความดันโลหิต
3. ลดอาการไอและช่วยขับเสมหะ
4. มีฤทธิ์เป็นยาปฎิชีวนะ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด
5. ทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มลดลง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
6. มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
7. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค
8. ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
เขียน/ เรียบเรียงเรื่องโดย: ดร.จันทร์จิรา รุ่งเจริญ