องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เฮมพ์พันธุ์ใหม่ของประเทศไทย !

hemp

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชเสาวนีย์ ในโอกาสที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวเขาในพื้นที่ภาคเหนือ ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการศึกษา ส่งเสริม และสนับสนุนให้ราษฎรชาวเขาปลูกเฮมพ์เพื่อใช้สอยในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากเฮมพ์จัดเป็นพืชเสพติด ชาวบ้านปลูกก็ผิดกฎหมาย ทางมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้เริ่มศึกษาวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยในช่วงแรกให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาข้อมูลพื้นที่ฐานของเฮมพ์ โดยเฉพาะมุ่งคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC (Δ9-tetrahydrocannabinol) หรือสารเสพติดต่ำ เพื่อให้แตกต่างจากกัญชา มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์เฮมพ์หรือกัญชงต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 จำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์อาร์พีเอฟ1 (RPF1) พันธุ์พันธุ์อาร์พีเอฟ2 (RPF2) พันธุ์ RPF3 และ พันธุ์ RPF4 ซึ่งเฮมพ์ทั้ง 4 พันธุ์ ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม (Mass selection) ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554 มีลักษณะทั่วไปเหมือนกันคือมีดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้น (Dioecious plant) รากเป็นระบบรากแก้ว มีกิ่งก้านมากเมื่อปลูกห่าง (1.0 x1.0 เมตร) และมีจำนวนกิ่งลดลงเมื่อปลูกถี่ (0.1 x 0.1 เมตร) ใบเป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือมีแฉกจำนวน 3-9 แฉก เป็นพืชขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดลักษณะเมล็ดเป็นรูปทรงรีคล้ายลูกรักบี้ ผิวของเมล็ดเรียบเป็นมัน มีลายประสีน้ำตาล และมีลักษณะเด่นของพันธุ์ ดังนี้

ลักษณะเด่นของเฮมพ์

ลักษณะต้นและเมล็ดเฮมพ์

 

หมายเหตุ

ที่มา: สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)