องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

สแตติส แคสเปียร์

ชื่อสามัญ  Statice, Sea Lavender 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Limonium spp. vp 

วงศ์ Plumbaginaceae 

สแตติส แคสเปียร์ เป็นไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ดอกอายุหลายปีต้นสูง 60-200 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับรูปช้อนแกมรูปใบหอก ขอบใบหยักมน หรือหยักเว้า ใบสีเขียวอ่อนผิวใบมีขนหยาบสากมือ ดอก ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกยาว มีปีกแบนขนานทั้งกิ่ง กลับประดับรูปหลอดมีเนื้อกลีบบาง มีสีขาว เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง และม่วงอมฟ้า ดอกจริงสีขาวขนาดเล็กแทรกในกลีบประดับ เป็นไม้ดอกที่มูลนิธิโครงการหลวงนำมาวิจัย และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกว่า 10 ปี มาแล้ว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆเหมือนกับกลิ่นลาเวนเดอร์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Sea Lavender ด้วยรูปทรงของดอกที่มีความยาวก้าน และดอกเป็นแบบดอกย่อยประกอบเข้าเป็นช่อดอกที่มีสีม่ววงสดสวยงามสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปแจกันดอกไม้สด จัดกระเช้าดอกไม้ ยังสามารถทำเป็นแจกันดอกไม้แห้งและทำเป็นดอกไม้แห้งก็ได้ จึงเป็นที่นิยมของตลาด และยังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน

ชนิดที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน คือ

1. Limonium sinuatum (L.) Mill ดอกจริงสีขาว-เหลืองนวล กลีบดอกประดับสีม่วง ชมพู

2. Limonium caspium (Willd.) Gams. ดอกจริงสีขาว กลีบประดับสีม่วงอ่อนมีขนาดเล็กนิยมนำมาแซมเข้าช่อรวมกับดอกไม้อื่น

3. Limonium tetragonum (Thumb.) Bullock. ดอกจริงสีขาว กลีบประดับ สีเหลืองอ่อน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

แสงแดดเต็มวัน อากาศเย็น ดินร่วนปนทราย มีความร่วนซุย น้ำและความชื้นปานกลาง ไม่ควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงในช่วงออกดอก เพราะจะทำให้ก้านดอกอ่อนและสีดอกไม่สด

การตลาด

เนื่องด้วยรูปทรงของดอกที่มีความยาวก้าน และดอกเป็นแบบดอกย่อยประกอบเข้าเป็นช่อดอกที่มีสีม่วงสดสวยงาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปแจกันดอกไม้สดจัดกระเช้าเป็นช่อดอกที่มีสีม่วงสดสวยงาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปจัดแจกันดอกไม้ไม้แห้งก็ได้จึงเป็นที่นิยมของตลาด และยังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน

การขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์สามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น  

1. เพาะเมล็ด โดยกลบเมล็ดบางๆ เมล็ดงอกภายใน 12-15 วัน ย้ายปลูกอายุ 15-20 วันระยะเวลาเพาะถึงออกดอก 120-130 วัน (380-400 เมล็ด/กรัม)

2. การแยกกอ 

3. การตัดชำราก

4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ส่วนวิธีการที่นิยมที่สุดที่ใช้ในปัจจุบัน คือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื่องจากเป็นวิธีการที่สะดวก และได้ปริมาณต้นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น มีความคงที่ของคุณภาพและปราศจากเชื้อโรค

การอนุบาล

หลังจากที่นำออกมาจากขวดอาหารเลี้ยงเชื้อ ก็จะอนุบาลต้นไว้ในถุงดำขนาด 3นิ้วx4นิ้ว พรางแสงด้วยซาแลนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ยน้ำโดยเตรียมจากปุ๋ยออสโมโคสที่นำมาละลายน้ำเป็นประจำใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่งถึง 2 เดือน ก็จะสามารถนำต้นพันธุ์ลงแปลงปลูกในแปลงได้

ช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการขยายพันธุ์

เนื่องจากเป็นการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าหากเป็นการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การแยกกอและการขยายตัดชำราก ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมน่าจะเป็นเดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม

การเตรียมแปลงปลูกและวิธีการปลูก

การเตรียมแปลง

1. ขุดดินตากแดดไว้อย่างน้อย 2 อาทิตย์

2. ปรับปรุงโครงสร้างดินด้วยโดโลไมท์ ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์

3. ใช้รถไถพรวนไถพลิกหน้าดิน เพื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกต่างๆให้เข้ากัน

4. ใช้รถไถพรวนไถร่องทางเดินขึ้นเป็นแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความยาวของโรงเรือน

5. ขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรคเน่าจากเชื้อราในดินและขยายเชื้อแพนซิโลไมซิสป้องกันไส้เดือนฝอยใส่ลงในแปลงที่เตรียมไว้ก่อนที่จะปลูก 1 อาทิตย์

การเตรียมดิน

1. ขุดดินตากแดดไว้อย่างน้อย 2 อาทิตย์

2. ตรวจเช็คค่า pH ของดินก่อนที่จะทำการปรับปรุงดินด้วยวัสดุปรับปรุงดินต่างๆ

3. ตรวจเช็คค่า pH ของดินหลังจากที่ทำการปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ให้ช่วงค่า pH ของดินอยู่ที่ 6.1-6.7

เทคนิคและวิธีการปลูก

ปลูกภายใต้โรงเรือนพลาสติก เนื่องจากสแตติสแคเบียร์เป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคที่มากับฝนป็นอย่างมาก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักประมาณ 1 กำมือต่อหลุมปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0 ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ขึงเชือกจากหัวแปลงถึงท้ายแปลงเพื่อเป็นแนวปลูกต้นพันธุ์ระยะระหว่างแถว 60 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 45-50 เซนติเมตร แนวแถวห่างจากขอบแปลงข้างละ 20 เซนติเมตร

การดูแลรักษา

หลังจากที่ปลูกลงไปในแปลงได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ต้นพันธุ์ก็จะเริ่มแทงช่อดอกต้องมีการตรึงหลักขึงตาข่ายช่วยพยุงลำต้น เนื่องจากสแตติสแคสเบียร์เป็นไม้ดอกที่มีความสูงและก้านดอกโค้งงอได้ง่ายทำให้มาตรฐานเกรดลดลง หลังจากที่ขึงตาข่ายไปแล้วต้นพันธุ์ที่แทงช่อดอกก็จะเริ่มฟอร์มตาดอก และเริ่มมีสีม่วงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉลี่ยหลังจากที่ปลูกลงในแปลงประมาณ 3 เดือนครึ่ง-4 เดือน ก็สามารถตัดดอกออกมาขายได้ และจะสามารถตัดดอกได้ตลอดปี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 ปีแล้วแต่การดูแลของเกษตรกรด้วย

การจัดการด้านความเข้มแสง

เนื่องจากสแตติส แคสเบียร์เป็นไม้ดอกที่ดูแลและเก็บผลผลิตข้ามปีต่อเนื่แงการจัดการด้านความเข้มแสงจึงไม่เหมือนกับดอกที่ปลูกเป็น Crop เช่น เบญจมาศ ฯลฯ คืออาศัยแสงแดดจากธรรมชาติเป็นหลัก ถ้ามีแสงแดดจัดในช่วงฤดูร้อน ก็จะช่วยลดอุณหภูมิแปลงปลูกภายในโรงเรือนพลาสติกด้วยการให้น้ำบ่อยครั้งกว่าเดิม

การให้ปุ๋ยและระบบการให้ปุ๋ย

การให้ปุ๋ยแก่สแตติส แคสเบียร์ โดยหลักๆคือการให้ปุ๋ยจันทร์-พุธ และเสาร์ตั้งแต่เริ่มปลูกและหลังจากที่มีการตัดดอกในแปลง โดยปุ๋ยน้ำเป็นปุ๋ยที่เตรียมขึ้นจากแม่ปุ๋ยหลายๆสูตรละลายอยู่ในน้ำ(Stock ปุ๋ย) โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ เช่น ไบโฟลาน หรือปุ๋ยน้ำระบบ Fertigation (การให้น้ำพร้อมกับการปล่อยปุ๋ย) ผ่านสาย PE และหัวมินิสปริงเปอร์ อัตราส่วนที่ใช้ คือ ปุ๋ยจาก Stock ปุ๋ยถัง A1ลิตร +ปุ๋ยจากStock ปุ๋ยถัง B 1 ลิตร:ย้ำ 200 ลิตร

การให้น้ำ

ระบบการให้น้ำก็ใช้ระบบเดียวกับการให้ปุ๋ย คือ ผ่านสาย PE และพ่นออกเป็นฝอยที่หัวมินิสปริงเกอร์ การให้น้ำจะดูจากความชื้นของดินเป็นหลัก โดยเฉลี่ยในฤดูแล้งที่อากาศร้อนมากจะให้น้ำประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูฝน ก็ลดจำนวนครั้งลงมาประมาณ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์

โรคและศัตรูพืช โรคและศัตรูพืชที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรที่ปลูกสแตติสแคสเบียร์ ได้แก่

โรคใบจุด

ที่เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. และ เชื้อรา Cercosporium sp. ซึ่งการระบาดของโรคจะพบในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง อาการของโรค คือ เกิดเป็นใบจุดสีน้ำตาลค่อนข้างกลมของแผลมีสีน้ำตาลเขม เมื่อเกิดการระบาดของโรควิธีที่เกษตรกรแก้ปัญหา คือ ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกแล้วนำไปเผาทำลาย หลังจากตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกเกษตรกร ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โคแมกซ์ ดาโคนิล ใช้สับกับ อมิสตา

โรคราดำ

พบการระบาดของโรคมากในช่วงฤดูฝน อาการของโรคคือเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กที่บริเวณช่อดิกและปลายยอด และจะขยายวงใหญ่ขึ้นตามลำดับ ถ้าเป็นจุดสีน้ำตาลที่บริเวณช่อดอก บริเวณที่เหนือจากจุดที่เป็นสีน้ำตาลจะเกิดอาการเหี่ยวเมื่อนำช่อดอกมาดูพบว่าเกิดการทำลายท่อน้ำท่ออาหารและบริเวณที่เป็นจุดสีน้ำตาลเมื่อนำมาหักก้านช่อดอกก็จะพบว่ามีการเปราะและหักง่ายมากเมื่อเกิดการระบาดของโรควิธีการที่เกษตรกรนำมาใช้แก้ปัญหา คือ ตัดแต่งส่วนของพืชที่ป็นโรคออกจากแปลงปลูกเกษตรกรสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โคแมกซ์ ดาโคนิล ใช้สลับกับ อมิสตา

การเก็บเกี่ยว

ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเฉลี่ยหลังจากที่ปลูกลงในแปลงประมาณ 3 เดือนครึ่ง-4 เดือน ก็สามารถตัดดอกขายได้ และจะสามารถตัดดอกได้ตลอดทั้งปีเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 ปี แล้วแตการดูแลรักษาของเกษตรกรด้วย

วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

1. เก็บเกี่ยวที่การบานของดอกต่อช่อดอกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

2. ใช้กรรไกรตัดก้านช่อดอกที่บริเวณโคนต้นติดดิน แล้วค่อยๆดึงต้นและช่อดอกลอดช่องตาข่ายที่ใส่พยุงลำต้นออกมา

3. ตัดใบที่ติดมากับลำต้นออกให้หมด กิ่งแขนงที่ยังไม่บาน และกิ่งย่อยที่อยู่ระหว่างกิ่งแขนงหลักก็ตัดออก

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บผลผลิต สแตติส แคสเบียร์ คือ ช่วงเวลาเช้าหรือช่วงเวลาเย็นเนื่องจากอากาศเย็นสบายพืชมีการคายน้ำน้อย และฤดูกาลที่สแตติส แคสเบียร์มีคุณภาพดีที่สุดคือช่วงฟดูหนา

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

การแช่น้ำยา หลังจากที่ตัดช่อดอกมาจากแปลงของเกษตรกร ตัดใบและกิ่งแขนงที่ไม่บานออกแยกมาตรฐานเกรดด้วยความยาวก้าน

การจัดเกรด

 ชั้นที่ 1. (EX)                         1) น้ำหนักของช่อดอกใน 1 กำต้องไม่ต่ำกว่า 250 กรัม

                                  2) ความยาวของก้านช่อดอก 90 เซนติเมตรขึ้นไป 

ชั้นที่ 2. (U)                          1) น้ำหนักของช่อดอกใน 1 กำต้องไม่ต่ำกว่า 250 กรัม

                                  2) ความยาวของก้านช่อดอก 70 เซนติเมตรขึ้นไป 

น้ำยารักษาสภาพการบานของดอก คือ ซิลเวอร์ไนเตรต 0.25 กรัม น้ำตาล 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 5ลิตร วิธีการคือ ละลายซิลเวอร์ไนเตรตและน้ำตาลในน้ำสะอาด 5 ลิตร คนให้เข้ากัน หลังจากที่คัดเกรพเรียบร้อยแล้วจะนำผลผลิตที่เข้ากำ เสร็จไปแช่น้ำยารักษาสภาพการบานของดอกที่เตรียมไว้เป็นอย่าน้อย 5 ชั่วโมง ในตอนเย็นจะนำมาหุ้มโคนก้านสำลีชุบน้ำหรือสารเคมี บรรจุลงกล่องกระดาษ การบรรจุต่อหนึ่งกล่องสามารถบรรจุได้ประมาณ 25-30 กรัม

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาจะอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ 2-4 องศาเซลเซียส โดยจะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3-4 สัปดาห์

 

เอกสารอ้างอิง :

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 375 หน้า.