องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ไผ่หวานอ่างขาง (หน่อไม้หม่าจู๋)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Dendrocalamus latiflorus

ชื่อสามัญ  Waan Ang-khang Bamboo Shoot

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]

ลักษณะทั่วไป หน่อไม้หม่าจู๋ (ไผ่หวานอ่างขาง) เป็นส่วนของยอดลำต้นอ่อนที่โผล่พ้นพื้นดินขึ้นมามีสชาติหวาน กรอบ หน่อมีสีขาวเหลือง มีสีขาวเหลือง

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร สามาถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งแบบสด หรือเป็นผักลวกจิ้ม สามารถนำไปแปรรูป เช่น อบแห้ง ดองเค็ม ดองเปรี้ยว ดองเต้าเจี้ยว ให้คุณค่าอาหารสูงโดยเฉพาะฟอสฟอรัสซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย นอกจากนี้ยังให้คุณค่าทางโปรตีน แคลเซียม วิตามิน B1 B2 แลเวิตามิน C

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว : [2]

ช่วงเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม

การเก็บเกี่ยว

1. เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีขนาดตามที่ตลาดต้องการ

2. คัดผลผลิตที่ไม่ได้ชั้นคุณภาพออก

3. ตัดโคนและขลิบปลายหน่อให้เรียบร้อย

4. จัดเรียงใส่ภาชนะบรรจุให้พอดี

5. ขนส่งทันทีหลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้ว

ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ คุณภาพขั้นต่ำ เป็นหน่อไผ่หวานอ่างขางที่มีรูปร่างลักษณะและสีตรงตามพันธุ์ ไม่แก่ สด สะอาด และปลอดภัยจากสารเคมี

 การจัดชั้นคุณภาพ

ชั้นหนึ่ง 1. หน่อมีน้ำหนัก 800 – 1500 กรัม

      2. มีสีขาว – เหลือง อาจมีสีเขียวปนเล็กน้อยบริเวณปลายหน่อ

      3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ชั้นสอง 1. หน่อมีน้ำหนัก 400 – 800 กรัม

      2. หน่อมีสีขาว – เหลือง อาจมีสีเขียวปนเล็กน้อยบริเวณปลายหน่อ

      3. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ชั้น U  1. หน่อมีน้ำหนัก 1500 – 2000 กรัม หรือ 250 – 400 กรัม

     2. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ข้อกำหนดในการจัดเรียง หน่อไผ่หวานอ่างขางที่บรรจุในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน มีชั้นคุณภาพเดียวกัน และมีคุณภาพสม่ำเสมอ

 

เอกสารอ้างอิง :

[1] หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง

[2] ตุลาคม 2545.คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผัก.กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์