องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ข้อมูลโครงสร้างประชากร ใช้ประโยชน์อย่างไร ให้การวางแผนงานพัฒนามีประสิทธิภาพ

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 44 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 616 กลุ่มบ้าน ใน 8 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน น่าน ตาก เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และกาญจนบุรี มีจำนวนประชากรเกือบ 1 ล้านคน และกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติมในปี 2568 ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ และโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนพื้นที่เฉพาะบ้านหนองเขียว รวมจำนวน 14 กลุ่มบ้าน ซึ่งโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการกำหนดกลยุทธ์งานการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาชุมชนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงกับโครงสร้างประชากรในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต การยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างศักยภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลไกในระดับพื้นที่ให้เข้มแข็งอีกทั้งสามารถรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุบนพื้นที่สูง โดยสามารถเข้าถึงได้ในจาก https://data.hrdi.info/services  ภายใต้เว็บแบนเนอร์ “ประชากรบนพื้นที่สูง”

หรือ คลิกที่ไอคอน “ประชากรบนพื้นที่สูง” ข้างล่างเลยค่ะ

สัดส่วนของอายุ เพศ และจำนวนแรงงานในครัวเรือน บ่งชี้อะไร?

ครัวเรือนที่มีแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (15-59 ปี) บ่งชี้ถึงศักยภาพในการหารายได้ของครัวเรือน

กลุ่มเยาวชนและวัยแรงงานตอนต้น (15-35 ปี)

- ส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะอาชีพควบคู่ไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

- สนับสนุนการการเริ่มต้นธุรกิจ และการใช้สวัสดิการด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ

กลุ่มวัยทำงาน (36-55 ปี)

- การพัฒนาอาชีพที่ต้องการอาศัยประสบการณ์พื้นฐานอาชีพเดิม  เช่น ผู้รวบรวมสินค้า/ผลผลิตผลคุณภาพสูง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

- ส่งเสริมอาชีพที่ไม่ใช้แรงกายมาก เช่น หัตถกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือการบริหารธุรกิจขนาดเล็ก

- ควรได้รับสวัสดิการของรัฐ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยลดภาระทางการเงิน

บทบาทหญิง-ชาย กับการทำงาน

แรงงานชาย

มีแรงงานเพศชายมาก มีข้อได้เปรียบในการทำงานที่ต้องใช้แรงกายมาก เช่น เกษตรกรรม ช่างก่อสร้าง ขนย้ายผลผลิตผล

แรงงานหญิง

มีแรงงานเพศหญิงมีจำนวนมาก สะท้อนถึงลักษณะงานที่ต้องการความละเอียด อาชีพที่สอดคล้องกับความสามารถ เช่น งานฝีมือ การค้าปลีก งานบริการ งานหัตถกรรม

ควรส่งเสริมการเข้าถึงสวัสดิการด้านการดูแลเด็กและเงินช่วยเหลือครอบครัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน ครัวเรือนที่มีแรงงานหญิงเป็นหลัก อาจบ่งชี้ถึงบทบาทของสตรีในการเป็นหัวหน้าครัวเรือน

การใช้ข้อมูลสิทธิสวัสดิการของรัฐ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพ

มีหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำรงชีพอย่างปกติสุข

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

- สนับสนุนเป็นแหล่งทุนการใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบหรือเครื่องมือที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

- ใช้เป็นแนวทางในการจัดโครงการอบรมอาชีพสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย

สิทธิประกันสังคม (มาตรา 33, 39, 40)

- ส่งเสริมให้แรงงานอิสระสมัครมาตรา 40 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ เช่น เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย หรือบำนาญยามเกษียณ

- ใช้สิทธิเป็นเครื่องมือสนับสนุนแรงงานในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุที่ยังต้องทำงาน

กองทุน

- สนับสนุนเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการลงทุนด้านในอาชีพ

- ใช้ข้อมูลออกแบบโครงการอบรมเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเงินทุน

จากภาพโครงสร้างข้อมูลประชากรตำบลแม่จริม สามารถประมวลผลเบื้องต้นได้ดังนี้

 

พื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯ หลวงแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีประชากรทั้งสิ้น 1,701 คน แบ่งเป็นเพศชาย 864 คน และเพศหญิง 837 คน รวมอยู่ในจำนวนครัวเรือนจำนวน 613 ครัวเรือน

โครงสร้าข้อมูลงประชากร ประกอบด้วย กลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 25–59 ปี) มากที่สุด จำนวน 843 คน หรือคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีถึงจำนวน 495 คน แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเข้าสู่สังคมสูงอายุวัย มีประชากรวัยเด็กและเยาวชน (อายุ 0–24 ปี) รวม จำนวน 363 คน ที่ควรได้รับการพัฒนาในด้านการศึกษาและทักษะชีวิตเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีประชาชนยังมีการที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจำนวน 764 คน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรมต่อชีวิตของชุมชน เมื่อพิจารณาด้านการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ พบว่ามีประชาชนเพียง 857 คน (คิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด)หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด ที่ได้รับมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประชาชนอีก 754 คน ยังไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในระบบ ซึ่งถือเป็นช่องว่างสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ว่างงาน

จากข้อมูลโครงสร้างประชากรดังกล่าวทั้งหมดนี้ จึงสามารถเสนอแนวทางในการส่งเสริมและวิจัยเพิ่มเติมได้ เช่น การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแรงงานและสตรีในชุมชน การส่งเสริมอาชีพเสริมแก่ผู้สูงอายุ การออกแบบโครงการฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การเร่งรัดให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐ และการวิจัยเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงบนในพื้นที่สูง

หากพิจารณาสัดส่วนชายหญิง พบว่า ชุมชนตำบลแม่จริมมีประชากรชายมากกว่าหญิง จึงมีข้อได้เปรียบในการทำงานที่ต้องใช้แรงงานชาย เช่น เกษตรกรรม ช่างก่อสร้าง ขนย้ายผลผลิต

ประชากรกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงอายุ 45-70 ปี  กลุ่มวัยทำงาน ถึง กลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นและตอนกลาง แนวทางการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม ได้แก่

กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) ควรส่งเสริมอาชีพโดยเปิดโอกาสให้ได้ใช้ประสบการณ์หรือทักษะอาชีพเดิม เช่น มีพื้นฐานเกษตรกรรม โดยเพิ่มเสถียรภาพในการทำงานได้ด้วยการสร้างกลุ่ม เครือข่ายการทำงาน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น เพื่อรวบรวมผลผลิตผลคุณภาพสูง หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์

กลุ่มผู้สูงอายุ (60-70 ปี) ควรส่งเสริมอาชีพที่ลดลงการใช้แรงงานหรือใช้เทคโนโลยี เพิ่มโอกาสในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพโดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัย ได้แก่ เกษตรปลอดภัย หัตถกรรม งานช่างฝีมือ ที่ปรึกษาแนะนำ การบริหารธุรกิจขนาดเล็ก แนวทางสนับสนุน ชุมชนมีควรมุ่งนเน้นการสร้างความร่วมมืองานวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนกลุ่มเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ เช่น ด้านนวัตกรรมเครื่องจักร เครื่องมือทุ่นแรง การจัดอบรม ศูนย์บ่มเพาะ เป็นต้น

ที่สำคัญคือควรสนับสนุนให้เข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานของภาครัฐอย่าง อาทิ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาท) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยลดภาระทางการเงิน 


ผู้เขียน/เรียบเรียงโดย ณฐภัทร สุวรรณโฉม และ ณิรินทร์พัชร์ ชยวงศ์ธร

ออกแบบและเผยแพร่สื่อออนไลน์โดย เนตรชนก สายคง สำนักยุทธศาสตร์และแผน