องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เห็ดเป็นยา- เห็ดนางรมหัว (Pleurotus tuber-regium) ep1.

เห็ดนางรมหัว (Pleurotus tuber-regium) จัดอยู่ในวงศ์ Pleurotaceae สกุล Pleurotus วงศ์เดียวกันกับเห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดนางรมหลวง (Pleurotus angustatus (Berk. & Br.) Sacc.) เห็ดนางรมทอง (Pleurotus cornucopiae (Paulet & Pers.) Rolland.) เห็ดเป๋าฮื้อ (Pleurotus cystidiosus O.K. Miller.) เห็ดมัน (Pleurotus flabellatus (Berk. & Br.) Sacc.) และเห็ดแครง (Hohenbuehelia reniformis (G. Mever & Fr.) Sing.) 

เห็ดนางรมหัว (Pleurotus tuber-regium) เป็นเห็ดที่พบได้ในหลายประเทศในแอฟริกาและเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย เห็ดนางรมหัว (Pleurotus tuber-regium) เริ่มได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นเนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการสูง และสามารถรับประทานได้ทั้งดอกเห็ดและส่วนที่เรียกว่า "หัวใต้ดิน" (Sclerotium) ซึ่งเป็นโครงสร้างใต้ดินคล้ายหัวใต้ดินของพืช นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในสภาพโรงเรือนได้ด้วย

อีกทั้ง ยังเป็นเห็ดที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งในทางอาหาร และทางการแพทย์ ดังนี้

1. การใช้ในทางอาหาร

การบริโภคเห็ดส่วนที่เหนือดิน (หมวกเห็ด) ถูกใช้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินบีและดี ธาตุเหล็ก และซีลีเนียม เห็ดนี้สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้ม ผัด แกง และย่าง

การบริโภคหัวใต้ดิน (Sclerotium) : สามารถบริโภคได้ มักจะนำไปบดเป็นผงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นวัตถุดิบหลักในการทำซุป และแกง

2. การใช้ในทางการแพทย์ คุณสมบัติทางการแพทย์ : มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านโรคมะเร็ง ต้านจุลินทรีย์ และต้านอนุมูลอิสระ มีการนำไปใช้ทางการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น การรักษาอาการอักเสบ และต้านไวรัส อีกทั้งยังพบว่า เห็ดนางรมหัว มีสาร polysaccharides ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน

3. การใช้ในอุตสาหกรรม : ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

4. การใช้ทางสิ่งแวดล้อม การบำบัดของเสีย : มีศักยภาพในการใช้ในการบำบัดของเสีย เช่น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และการกำจัดสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีจากการเกษตรหรือสารพิษจากอุตสาหกรรม


อ้างอิง

         Jonathan, S. G., & Fasidi, I. O. (2003). Antimicrobial activities of two Nigerian edible macro-fungi Lycoperdon pusilum (Bat. ex) and Pleurotus tuber-regium (Fries) during their fruiting bodies. African Journal of Biomedical Research, 6(2), 85-90.

          Isikhuemhen, O. S., & Nerud, F. (1999). Preliminary studies on the ligninolytic enzymes produced by the tropical fungus Pleurotus tuber-regium. Mycologia, 91(2), 353-359.


เขียน/ เรียบเรียงเรื่อง โดย นางสาวพัชรินทร์ พงษ์ชัยภูมิ/ดร.จารุณี ภิลุมวงค์

ออกแบบ และเผยแพร่สื่อออนไลน์ โดย...เนตรชนก สายคง สำนักยุทธศาสตร์และแผน