การแปรรูปเส้นใยกัญชงแบบอุตสาหกรรม
การแปรรูปกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยนั้นสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่ การแปรรูปแบบหัตถกรรม และการแปรรูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งการแปรรูปทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างกัน โดยการแปรรูปแบบงานหัตถกรรมจะเป็นการแปรรูปโดยลักษณะการใช้ประโยชน์จากเส้นใยยาวของเปลือกต้นกัญชง ส่วนการแปรรูปแบบอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นการใช้ประโยชน์จากเส้นใยสั้น เนื่องจากในประเทศไทยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรที่สามารถปั่นเส้นด้ายแบบใยยาวซึ่งเป็นกระบวนการปั่นแบบเปียก (Wet Spinning) ได้ จึงจำเป็นต้องประยุกใช้เครื่องจักรและกระบวนการที่ใช้ในการปั่นเส้นใยฝ้ายมาปั่นเส้นด้ายกัญชงผสมกับเส้นใยอื่นๆ ซึ่งกระบวนการแปรรูปเส้นใยขั้นต้นจากเปลือกของต้นกัญชงนำมาต้ม และฟอกจนได้เส้นใยกัญชงก่อนนำไปสู่กระบวนการปั่นเส้นด้าย ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
จากการต้ม ฟอกเปลือกกัญชงที่เก็บเกี่ยวที่อายุ 90 วัน มีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 60-70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในระหว่างการต้ม ฟอกเส้นใยกัญชงนั้นจะมีการสูญเสียเส้นใยสั้นๆในระหว่างการต้มและการฟอกไปมากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามเส้นใยที่สูญเสียนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังบทความเรื่อง “การนำเศษเส้นใยกัญชงจากกระบวนการแปรรูปเป็นเส้นด้าย มาใช้ประโยชน์ตามเเบบ BCG MODEL” (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://hkm.hrdi.or.th/Knowledge/detail/600)
เขียน/ เรียบเรียงเรื่องโดย: ดร.รัตญา ยานะพันธุ์