องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

การปลูกคะน้าฮ่องกง

การวางแผนการผลิต

  • ลดความเสี่ยงด้านราคา
  • สร้างความแน่นอนในด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร


ขั้นตอนการปลูกคะน้าฮ่องกง

1 การเตรียมต้นกล้า

  • เพาะในถาดเพาะกล้า
  • หยอดหลุมละ 1 - 2 เมล็ด
  • อายุกล้า 20 - 25 วัน

2 การเพาะกล้าผัก

  • นำมีเดียใส่ถาดเพาะกล้า
  • นำเมล็ดผักหยอดลงในถาด โดยใช้ไม้จิ้มกลางหลุมของวัสดุเพาะ แล้วหยอดเมล็ดหลุมละ 1 เมล็ด

  • นำถาดเพาะวางไว้ในร่มรำไร คลุมด้วยพลาสติก จากนั้นบ่มไว้ 3 วัน เพื่อให้เมล็ดแตกออก แล้วจึงย้ายไปอนุบาลในโรงเพาะกล้า

  • เมล็ดผักจะงอกหลังหยอดเมล็ด 3 - 5 วัน หลังจากผักมีใบ 3 - 5 ใบ หรือมีอายุประมาณ 20 วัน ให้ย้ายกล้าปลูกในแปลง

3 การเตรียมแปลง

  • กำจัดวัชพืชในแปลงให้หมด
  • ใช้รถไถขนาดเล็กไถพรวนดิน พลิกหน้าดินไว้ 7 วัน
  • ใส่ปุ๋ยหมัก 1 - 2 กก. ต่อตารางเมตร
  • ขึ้นแปลงปลูกขนาด 1.2 x 30 เมตร

4 การปลูก

  • ขึงเชือกตามความยาวของแปลง หลังจากวางระบบน้ำเรียบร้อยแล้ว
  • ปลูกระยะ 15 x 15 เซนติเมตร
  • ปลูกตามแนวเชือกให้เป็นระเบียบ
  • ไม่ควรให้น้ำก่อนการปลูก เพราะจะทำให้เปียกแฉะ

5 การให้น้ำ

  • หลังจากปลูกเสร็จ จะต้องรดน้ำทันทีให้ชุ่ม
  • ปล่อยน้ำในระบบน้ำหยดทุกวัน ครั้งละ 10 - 15 นาที ในช่วงเช้า
  • ในช่วงฤดูฝน หากดินมีความชื้นสูงควรงดเว้นการให้น้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเน่า ควรพิจารณาให้น้ำตามความชื้นของดิน

6 การให้ปุ๋ย

  • ให้ปุ๋ยในระบบน้ำหยด
  • เริ่มให้ในวันที่ 5 หลังจากปลูก
  • ใช้อัตราผสมที่เหมาะสมตามตารางการให้ปุ๋ย
  • 7 - 10 วัน หลังย้ายปลูก ใส่ 46-0-0 หรือ 15-0-0
  • 15 - 20 วัน หลังย้ายปลูก ใส่ 46-0-0 + 15-15-15 ในอัตราส่วน 1:1
  • พ่นฮอร์โมนหรือธาตุอาหารเสริมทางใบ 1 - 2 ครั้ง

การกำจัดวัชพืช

  • ต้องกำจัดวัชพืชในแปลง และบริเวณรอบ ๆ แปลงให้สะอาดอยู่เสมอ

การเก็บเกี่ยว

  • อายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 - 35 วัน หลังย้ายปลูก

การตัดแต่ง

  • มีดที่ใช้ต้องสะอาด และคม
  • หมั่นจุ่มมีดในน้ำผสมคลอรีน (ความเข้มข้น 200 ppm.)

1 มาตรฐานเกรด

  • ความยาวก้าน

เกรด 1 ยาว 12 - 15 เซนติเมตร

เกรด 2 ยาว 8 - 15 เซนติเมตร

  • เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น

เกรด 1 ขนาด 1 - 1.5 เซนติเมตร

เกรด 2 ขนาด 0.5 - 2 เซนติเมตร

  • จำนวนใบ

2 - 3 ใบ

2 เกรด MK

  • ความยาวก้าน

15 - 30 เซนติเมตร

  • เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น

1 - 2 เซนติเมตร

  • จำนวนใบ

3 - 4 ใบ

ปัญหาการผลิต

1 ฤดูหนาว

  • ออกดอก

2 ฤดูฝน

  • เน่า
  • ใบลาย
  • ใบด่าง

แมลงและศัตรูพืชที่สำคัญ

1 หนอนเจาะยอดกะหล่ำ

2 หนอนใยผัก

  • ไข่มีขนาดเล็ก ลักษณะยาวรี และมีสีเหลือง
  • ดักแด้มีขนาดยาว 1 เซนติเมตร และมักมีปลอกหุ้ม
  • หนอนมีความยาวตั้งแต่ 1 - 13 มิลลิเมตร
  • ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก

3 หนอนผีเสื้อขาว

4 หนอนกระทู้ผัก

5 หนอนคืบกะหล่ำ

  • ไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ สีขาวนวลหรือเหลืองอ่อนตามใต้ใบ ขนาดของไข่ประมาณ 0.5 - 0.6 มิลลิเมตร
  • หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวอ่อน ความยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตร หัวมีขนาดเล็ก
  • ดักแด้มีสีเขียว มีปลอกหุ้มสีขาว

6 ด้วงหมัดผัก

  • ตัวอ่อนจะกัดกินรากพืช
  • ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบพืช

7 เพลี้ยอ่อน

  • พบบริเวณยอด หรือใบอ่อน
  • ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ยอด ใบ และลำต้นหงิกงอ แคระแกรน และขับน้ำหวาน ทำให้เกิดราดำ

8 หอยทาก และทาก

  • ไข่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการฟักเป็นตัวอ่อน
  • ทากมีทั้งชนิดที่เป็นศัตรูพืช และกินซากพืช
  • ทากจะออกหากินกลางคืน หรือเมื่อมีความชื้นสูง

ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงและศัตรูพืช

1 พรีวาธอน 250 ซีซี

  • อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 10 วัน

2 ฮาชิ ฮาชิ 250 ซีซี

  • อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 16 วัน

3 ซัคเซส 250 ซีซี

  • อัตราการใช้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 5 วัน

4 โปรเคลม 250 ซีซี

  • ระยะปลอดภัย 10 วัน

5 แจคเก็ต

  • ระยะปลอดภัย 17 วัน

6 ทาคูมิ 50 กรัม

  • ระยะปลอดภัย 10 วัน

7 พาแดน

  • ระยะปลอดภัย 5 วัน

8 โมแลน

  • ระยะปลอดภัย 3 วัน

9 เมทาไรเซียม อะนิโซเพล (เชื้อรา)

10 บูเวเรีย บัสเซียน่า (เชื้อรา)

11 บาซิลลัส ธูริงเยนซีส (แบคทีเรีย)

  • ปราบหนอนผีเสื้อ

12 ไวรัส เอ็น พี วี

  • ควบคุมหนอนอเมริกัน หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก

13 เมทัลดีไฮด์

  • สารกำจัดหอย

14 ซาโปนิน (กากชา)

  • อัตราการใช้ 3 - 5 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ (สำหรับใช้โรย)

ใช้โรย แล้วให้น้ำตามทันที หรือโรยในแปลงที่มีการขังน้ำจนท่วมแปลง 1 - 2 วัน

  • อัตราการใช้ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร คนให้ทั่วแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน (สำหรับใช้พ่น)
  • ระยะปลอดภัย 0 วัน

โรคที่สำคัญ

1 โรคราน้ำค้าง

2 โรครากเน่าโคนเน่า

3 โรคใบจุด

ผลิตภัณฑ์รักษาโรคพืช

1 อิเควชั่น

  • อัตราการใช้ 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 14 วัน

2 โฟลิ อาร์ ฟอส

  • อัตราการใช้ 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 3 วัน

3 ฟอรัม

  • อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 14 วัน

4 เฮดไลน์ 250 ซีซี

  • อัตราการใช้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะปลอดภัย 3 วัน

ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืช

1 สกอร์

  • ระยะปลอดภัย 21 วัน

2 ไตรซาน

3 ลาร์มิน่า

4 บีเค - 33

โปรแกรมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักคะน้าเพื่อส่งบริษัท MK

  • ระยะเก็บเกี่ยว 25 - 30 วัน


เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: นางสาวศิริลักษณ์ สิริกุล (นักวิชาการมูลนิธิโครงการหลวง) และนายอิทธิพล โพธิ์ศรี