องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ชาสมุนไพร หลากสีจากธรรมชาติ

ชาสมุนไพร (Herbs Tea) เป็นเครื่องดื่มที่เตรียมได้จากพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีต่อสุขภาพ ผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการทำแห้ง ให้ผู้บริโภคนำไปต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม โดยคาดหวังประโยชน์เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ แปรรูปได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก ผล ราก หัว หรือลำต้น นำมาลดขนาดให้เล็กลงโดยการตัด สับ หรือบด ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่สามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากพืชสมุนไพรใด สามารถทำจากพืชสมุนไพรชนิดเดียว หรือผสมรวมกับชนิดอื่น หรือชาสกุล Camellia ก็ได้

พืชสมุนไพรในประเทศไทยมีหลากหลายชนิด เมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรบริโภค ก็มีสรรพคุณหลากหลายเช่นกัน อีกทั้งยังได้สัมผัสกลิ่นหอมและสีสันสวยงามจากสมุนไพรชนิดนั้นๆ ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับสารสำคัญต่างๆ

สีสันดังกล่าวคือ สารสี/รงควัตถุในพืช (plant pigments) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พืชสังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ในหน้าที่ต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ (ตารางที่ 1) คือ คลอโรฟิลดิ์ คาร์โรตินอยด์ ฟลาโวนอยด์ และ betalains (Kay, 1991) กลุ่มสารประกอบเชิงซ้อน เช่น แทนนิน และสารอื่นๆ



เขียน/ เรียบเรียงเรื่องโดย: อัปสร วิทยประภารัตน์

 


เอกสารอ้างอิง:

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 280 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ชาสมุนไพร.

กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2552. บัญชีชื่อพืชที่อนุญาตให้ใช้ในเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. 31 หน้า.

ครัวดอทโค (KRUA.CO).Benefits of Natural Food Coloring ประโยชน์ของสีจากธรรมชาติ. แหล่งที่มา : https://krua.co/food_story/Benefits of Natural Food Coloring ประโยชน์ของสีจากธรรมชาติ. (5 ธันวาคม 2565)

พบแพทย์ (PobPad). ผักผลไม้ 5 สี กับหลากคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ .แหล่งที่มา : https://www.pobpad.com/ผักผลไม้-5-สี-กับหลากคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ (5 ธันวาคม 2565)

โสระยา ร่วมรังษี. 2547. เอกสารประกอบการสอน สรีรวิทยาไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 127 หน้า.

Kay, S. J. 1991. Postharvest Physiology of Perishable Plant Products. Van Nostrand Reinhold Publisher, New York. p. 187-213.