องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

การปลูกข้าวโพดไม่เผาและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว

การปลูกพืชเหลื่อมชนิด การปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันและใช้ส่วนต่างๆ ของพืชแรกทิ้งไว้คลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น

ประโยชน์การปลูกข้าวโพดโดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่ยมด้วยพืชตระกูลถั่ว

- เพิ่มปริมาณธาตุอาหาร และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

- ลดการแพร่กระจายของวัชพืช

- เพิ่มการสงวนน้ำไว้ในดิน ลดการพังทลายของดิน

- เพิ่มผลผลิต และรายได้ให้กับเกษตรกรในระยะยาว

- ลดปัญหาหมอกควันไฟ จากการเผาเศษซากพืช

ปฏิทินการปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาเศษพืชและเหลี่ยมด้วยพืชตระกูลถั่ว

ขั้นตอนการปลูก

การปลูกข้าวโพดในปีที่ 1

1) การเตรียมดิน ทำการถางหญ้าและคลาดเศษวัชพืชมาไว้ตามแนวระดับความลาดชัน

2) วิธีการปลูก ปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม หรือช่วงต้นฤดูฝนปลูกเป็นแถวเป็นแนวขวางแนวลาดชัน ใช้ระยะปลูก 75 x25 ซม.1 ต้นต่อหลุม หรือ ใช้ระยะปลูก 75 x50 ซม.2 ต้นต่อหลุม

3) การจัดการ กำจัดวัชพืชเมื่อต้นข้าวโพดอายุ 25 – 30 วัน และใส่ปุ๋ยตามสภาพดิน หรือตามค่าวิเคราะห์ดิน

4) การปลูกถั่วเหลื่อมข้าวโพด ปลูกถั่วระหว่างแถวข้าวโพด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพด 30 วัน เช่น ถั่วแปะยี ถั่วนิ้วนางแดง หรือ ถั่วดำ เป็นต้น ไม่ควรปลูกพืชตระกูลถั่วล่าช้าเกินกว่าเดือนสิงหาคม

5) การเก็บเกี่ยวข้าวโพด เก็บเมื่อฝักข้าวโพดแก่จัด หรือแห้งหมดทั้งแปลง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วเสร็จให้ล้มต้นข้าวโพดลงไปในทิศทางเดียวกันระหว่างร่องแถวถั่ว เพื่อเป็นวัสดุคลุมดิน

6) การเก็บเกี่ยวถั่ว เก็บเกี่ยวฝักถั่ว โดยทิ้งเศษซากต้นไว้เพื่อเป็นวัสดุคลุมดิน โดยไม่เผาทำลายซากของถั่ว



การปลูกข้าวโพดในปีต่อไป

1) เตรียมพื้นที่ปลูก เตรียมพื้นที่เดือน เมษายน – พฤษภาคม โดยไม่เผาเศษซากถั่ว และข้าวโพด ควรลดการใช้สารกำจดวัชพืชในการเตรียมพื้นที่ปลูก

2) ปลูกข้าวโพดโดยไม่เผา ด้วยการกระทุ้งหลุมปลูกบนซากถั่ว ซากของถั่วสามารถควบคุมปริมาณวัชพืชในแปลง

3) ปลูกถั่วระหว่างร่องแถวข้าวโพด ระยะห่างระห่างต้นถั่ว 30 เซนติเมตร ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพดประมาณ 30 วัน

4) การดูแลรักษา ดำเนินการเหมือนในปีที่ 1 แต่ลดปริมาณปุ๋ยที่ใช้ลงจากเดิม เนื่องจากในแปลงมีเศษซากถั่วที่เป็นปุ๋ยหมัก