บ่าซัก(มะคำดีควาย)
ชื่อสามัญ Soap nut tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sapindus rarak A.DC.
วงศ์ SAPINDACEAE
ภาคเหนือ บ่าซัก มะซัก มะคำดีควาย ส้มป่อยเทศ ภาคกลาง มะคำดีควาย ประคำดีควาย ภาคอีสาน - ภาคใต้ -
มะคำดีควายเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกเรียงสลับ 5-9 คู่ รูปหอก โคนใบสอบเข้าหากันส่วนปลายใบเรียวแหลม ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ขนาดเล็กสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ผลกลมออกรวมกันเป็นพวง สีน้ำตาลเข้มจนถึงดำและมักเหี่ยว ข้างในมี 1 เมล็ด สีดำเปลือกแข็งหุ้ม
สภาพนิเวศ : มักขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น หรือบริเวณป่าดงดิบแล้งในทุกภาคของประเทศไทย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ผล ใช้ทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักล้างต่างๆ
แหล่งที่พบ : พบตามป่ารอบชุมชน
เกร็ดน่ารู้ : ผลแก่ แก้ไข้ดับพิษร้อนภายในแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ ใบ แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ ราก รากผสมในตำหรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง เปลือก แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้ ดอก แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
สารสำคัญในพืชได้แก่ Saponin, emerginatonede, o-methyl-saponin เป็นต้นส่วนสรรพคุณแก้ชันนะตุ คาดว่าเกิดจากสาร Saponin เนื้อผลจะมีปริมาณของ saponin สูง ผลแก่มีสารพวกซาโปนิน (Saponin)