องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

หญ้าหนวดแมว

ชื่อสามัญ  Cat''s whisker, Kidney tea plant, Java tea

ชื่อวิทยาศาสตร์  Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.

วงศ์   LABIATAE

ภาคเหนือ หญ้าหนวดแมว ภาคกลาง บางรักป่า พยับเมฆ อีตู่ดง ภาคอีสาน ภาคใต้ -

หญ้าหนวดแมวเป็นพืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม สีม่วงแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปหอก โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกออกตามปลายยอดหรือกิ่งคล้ายฉัตรเป็นชั้นๆ มีเกสรเพศผู้พุ่งออกไปเป็นฝอยคล้ายกับหนวดแมว อันเป็นที่มาของชื่อ ดอกสีขาวอมม่วง ผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นตามทุ่งหญ้า ชายป่าที่มีความชุ่มชื้น แสงแดดรำไร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและการปักชำ

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ใบและลำต้นแห้งต้มชงเป็นน้ำชา ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ลำต้นและรากต้มน้ำดื่มแก้นิ่ว

แหล่งที่พบ : พบปลูกตามรั้วบ้าน และขึ้นในแปลงผักสวนครัว

เรื่องน่ารู้ : หญ้าหนวดแมวเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน รักษาโรคเบาหวานและโรคนิ่ว นอกจากนั้นมี "เกลือโปแตสเซียม” ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ และช่วยขยายหลอดไตให้กว้างขึ้น จึงสามารถลดอาการปวดของท่อไต และโรคที่เกี่ยวกับไต จนถูกขนานนามว่า "ชาสำหรับโรคไต" (Kidney''s Tea) แต่มีข้อควรระวังคือคนป่วยที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรรับประทาน เพราะมีสารโปแตสเซียมสูง