องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

บัวนาค (โกงกางเขา)

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Fagraea ceilanica Thunb.

วงศ์   GENTIANACEAE

ภาคเหนือ บัวนาค ฝ่ามือผี ภาคกลาง โกงกางเขา ภาคอีสาน ตังติดนก ภาคใต้ โพดา

บัวนาคเป็นไม้พุ่มเลื้อย เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น แต่เมื่ออยู่กลางแจ้งจะเป็นไม้พุ่ม มีรากอากาศคล้ายต้นไทร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีรูปร่างหลายแบบตั้งแต่รูปไข่หรือรูปไข่กลับถึงรูปใบหอก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกที่ปลายกิ่งก้าน ผลสีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีม่วงเข้ม-ดำ ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ปลายแหลม มีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ เนื้อผลนิ่มฉ่ำน้ำมีเมล็ดจำนวนมาก

สภาพนิเวศ : พบอิงอาศัยกับไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : กิ่ง เปลือกต้น หรือราก นำมาต้มน้ำอาบแก้อาการผื่นคันจากยางต้นรัก หรือลมพิษ 

สถานภาพในชุมชน : พบขึ้นเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่ในป่าธรรมชาติที่มีความชุ่มชื้นรอบชุมชน