องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

บ่าก่อเดือย(ก่อ)

 


 

ภาคเหนือ บ่าก่อ บ่าก่อเดือย ก่อสร้อย ภาคกลาง ก่อเดือย ภาคอีสาน ก่อหมัด ก่อหัด ภาคใต้ -     

บ่าก่อเดือยเป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกแตกเป็นร่องหรือเป็นสะเก็ดตามยาว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักห่างๆ ดอกเป็นช่อดอกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมรวมอยู่บนช่อผล กาบหุ้มผลปกคลุมด้วยหนามสั้นและแข็ง จะแตกเมื่อผลแก่จัด

สภาพนิเวศ : พบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,400 เมตร

การขยายพันธุ์ :  เพาะเมล็ด

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : นำผลแก่ที่ร่วงมาคั่วหรือกินสด ส่วนลำต้นและกิ่งก้านนำมาทำเป็นฟืนในป่ารอบชุมชนยังพบก่ออีก 2 ชนิดที่นำผลมากิน คือ ก่อแป้น (C. diversifolia) และก่อตี่

แหล่งที่พบ : ตามป่าดิบเขารอบชุมชน