ผักไผ่ (หอมจันทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour.
วงศ์ POLYGONACEAE
ภาคเหนือ ผักไผ่ ภาคกลาง จันทร์โฉม หอมจันทร์ ภาคอีสาน จันทร์โฉม ผักแพว พริกม้า ภาคใต้ จันทร์แดง
ผักไผ่เป็นพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดิน มีรากงอกตามข้อที่สัมผัสดิน ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยวเวียนสลับ รูปใบหอก โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบและแผ่นใบเรียบ มีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มรอบลำต้นเหนือข้อ ดอกเป็นช่อออกที่ปลายยอด บานจากโคนช่อไปปลายช่อ สีขาวนวล ขอบกลีบดอกสีชมพูอ่อน ผลขนาดเล็ก
สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดินร่วนซุย ระบายน้ำดี แสงแดดส่องถึง
การขยายพันธุ์ : แยกกอ
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ใช้ใบปรุงกับลาบ ใส่ในต้มยำ หรือกินเป็นผักสดกับน้ำพริก และลาบแหล่งที่พบ : พบทั่วไปตามสวนครัวรอบบ้าน
เกร็ดน่ารู้ : ผักไผ่เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลมในกระเพาะ หรือคั้นผสมกับแอลกอฮอล์ทาแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน