องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ยูโอนีมัส

ยูโอนีมัส Euonimus japonicas เป็นพวกไม้ประดับและไม้ตัดใบที่มีลักษณะสีหลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะของสีใบ มีทั้งสีเขียวด่าง เหลืองด่าง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ต้นยูโอนีมัสเจริญเติบโตนิอุณหภูมิอบอุ่นพอประมาณ ชอบแสงสว่างแต่ไม่ถูกแสงโดยตรง (แสงรำไร)

การตลาด

เป็นไม้ประดับที่นำเข้ามาใหม่มีความหลากหลายของสีใบ ตลาดเริ่มมีความต้องการปริมาณที่มากพอสมควร

การขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์

- สามารถขยายพันธุ์ได้โยการปักชำกิ่ง และยอดอ่อน

- เตรียมกระบะมีวัสดุเพาะชำพวกขี้เถ้าแกลบ ทราย ขุยมะพร้าว อัตรา 1:1

-ตัดกิ่งที่ค่อนข้างแก่พอประมาณ และยอดอ่อนจุ่มฮอร์โมน IBA ปักชำในวัสดุเพาะ

- ทำการให้น้ำแบบัวฝอย อาทิตย์ละ 2 ครั้ง

การอนุบาล

ย้ายกล้ามาปลูกลงในถุงขนาด 4x6 นิ้ว ให้น้ำโดยใช้ฝักบัวฝอยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อายุได้ประมาณ 1 เดือน ย้ายไปปลูกในแปลงปลูก

ช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการขยายพันธุ์

สามารถขยายพันธุ์ได้ทุกฤดูแต่ในช่วงเหมาะสมที่สุด คือ ช่วงฤดูร้อน

การเตรียมแปลงปลูกและวิธีการปลูก

การเตรียมแปลง

ควรเลือกดินบริเวณที่ไม่ชื้นแฉะ ลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุในปริมาณที่มากพอ เพิ่มเติมอินทรียวัตถุต่างๆ เช่น เปลือกข้าว ปุ๋ยคอก กากต้นถั่วเหลือง ใบไม้ผุๆ อย่างละ 2 ปี๊บ/1 ตารางเมตร ผสมให้ทุกส่วนเข้ากันดีและวัดระยะแปลงปลูกขนาด 1 เมตร ร่องทางเดิน 0.50 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดของพื้นที่นั้นๆ

การเตรียมดิน

1. ทำความสะอาดพื้นที่ กำจัดวัชพืชต่างๆทิ้ง

2. ขุดพลิกดินตากแดด 1 อาทิตย์ เพิ่มเติมอินทรียวัตถุต่างๆ เช่น เปลือกข้าว กากถั่วเหลือง ปุ๋ยคอก อัตราอย่างละ 2 ปี๊บ/ ตารางเมตร ปูนขาว 400 กรัม/ 1 ตารางเมตร ปุ๋ยร๊อกฟอสเฟต 300 กรัม เศษซากพืชและอื่นๆ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักทิ้งไว้

เทคนิควิธีการปลูก

ทำแปลงปลูกขนาด 1 เมตร ร่องทางเดิน 0.50 เมตร เจาะหลุมระหว่างแปลงปลูก 25x25 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวให้ตรงเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน เช่น การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโยทั่วๆไป

การดูแลรักษา

การจัดการด้านความเข้มแสง

ต้องสร้างโรงเรือนพรางแสงแดด 50 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันการถูกแสงแดด โดยตรงอาจทำให้เกิดใบไหม้

กาจัดการด้านอุณหภูมิ

ควรให้น้ำบ่อยในช่วงฤดูร้อนป้องกันการคายน้ำ

ปุ๋ย

 ปุ๋ย                  สูตร         ถัง A (200 ลิตร)      ถัง B (200 ลิตร) 

โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต   12-60-0       10 กิโลกรัม            -

โปรแตสเซียมไนเตรท     13-0-46        15 กิโลกรัม         10 กิโลกรัม

ยูเรีย                46-0-0          -             25 กิโลกรัม

แคลเซียมไนเตรท       15-0-0           -             5 กิโลกรัม

แมกนีเซียมซัลเฟต       Mg so4 7H2O      4 กิโลกรัม           - 

ปุ๋ยยูนีเลท                            500 กรัม            -

 รวมเนื้อปุ๋ย                      29.5 กิโลกรัม        40 กิโลกรัม

หมายเหตุ อัตราการใช้ ใช้ปุ๋ยสูตร A 1 ลิตร สูตร B 2 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร รดต้นไม้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง

การให้น้ำ

ควรให้น้ำโดยการใช้สายยาง และระบบน้ำหยดบนแปลงปลูกป้องกันใบเปียกน้ำและการเกิดโรคระบาด

โรคและศัตรูพืช

โรคเน่าคอดินในระยะกล้า ไม่ควรเพาะกล้านานเกินไป

ในช่วงฤดูร้อนมักพบการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อน วิธีจัดการ ควรให้น้ำแบบสปริงเกอร์ และฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกัน เช่น ยาไดเมทโทเอท ไซเพอร์เมทริล

การเก็บเกี่ยว

ระยะเก็บเกี่ยว

ควรคัดเลือกก้านที่ตรง มีใบอยู่ครบ ความยาวก้าน 60 เซนติเมตร ยอดแก่จัดและสมบูรณ์เต็มที่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

วิธีการเก็บเกี่ยว

- ควรใช้กรรไกรตัดกิ่งที่ตรง ความยาวก้าน 60 เซนติเมตร มีใบอยู่ครบสมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

- ควรทำการแช่น้ำในทันทีป้องกันการขาดน้ำ

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว (ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว)

ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวควรอยู่ในสภาพอากาศเย็น หรือตัดแล้วต้องแช่น้ำทันทีในสภาพโรงเรือน

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

การแช่น้ำยา (ส่วนประกอบของน้ำยารักษาสภาพและวิธีการแช่)

- ก้านยูโอนีมัสหลังตัดแล้วต้องแช่น้ำทันที โดยการริดใบบริเวณโคนก้านออก

- นำมาเข้ากำๆ ละ 10 ก้าน หุ้มโคนก้านด้วยสำลีห่อถุงพลาสติกใส 3x5 นิ้ว บรรจุในถุงสลิปตราดอยคำเก็บไว้ในถังให้ตั้งตรงป้องกันยอดงอได้

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา

อุณหภูมิห้องปกติ