องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ไฮเดรนเยีย

พืชสกุลไฮเดรนเยีย (Hydrengea macophylla) มีอยู่ด้วยกันประมาณ 80 ชนิด ส่วนมากจะเป็นไม้พุ่ม และไม้เลี้อย มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เป็นไม้ยืนต้น บางชนิดผลิตใบเมื่อเข้าสู่ ฤดูหนาวและบางชนิดก็เขียวขจีตลอดปี ความโดเด่นของไม้สกุลนี้ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกเพื่อความสวยงามของดอก เนื่องจากช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ประกอบกับสันสวยงาม ปัจจุบันไม้ดอกชิดนี้ มการปลูกทั่วไปเพราะเป็นพืชที่มีอายุหลายปี และขยายพันธุ์ได้ง่าย สามารถปลูกเป็นไม้ประดับไม้ตัดดอก และไมกะถาง คาดว่าในอนาคตจะสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ไฮเดรนเยียเจริญเติบโตได้ดีในดิน่วนซุย มีการระบายน้ำดีมีความชื้นสม่ำเสมอ เป็นไม้ดอกที่ต้องการอุณหภูมิประมาณ 14-18 องศาเซลเซียส ต้องการแสงปานกลางชอบที่ร่มรำไร

การตลาด

ไฮเดรนเยียเป็นพืชที่ตลาดต้องการสูง เนื้องจากเป็นไม้ดอกที่สามารถปลูกเป็นไม้ประดับสวนหรือปลูกเป็นไม้กระถางผลิตเป็นไม้ตัดดอก และสามารถนำมาทำเป็นดอกไม้แห้งอีกด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของไฮเดรนเยีย ด้วยรูปลักษณ์และความโดดเด่นของช่อดอกมีแนวโน้ม ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

การขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์

ไฮเดรนเยียสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ การแยกหน่อและการปักชำ การปักชำทำได้ 3 วิธี คือ

1. การปักชำยอด ใช้ยอดที่ไม่มีตา ซึ่งแตกออกมาใหม่ๆ จากลำต้นมาปักชำ 2.1.2 การปักชำกิ่งถัดจากยอด

2. การปักชำกิ่งถัดจากยอดแบ่งครึ่งตามยาว ในกรณีนี้สามารถใช้ได้เมื่อมีจำนวนกิ่งน้อย

วัสดุในการปักชำมี 2 ชนิด

- ขุยมะพร้าวร่อนผสมทรายหยาบ อัตราส่วน 2:1

- ถ่านแกลบผสมทรายหยาบ อัตราส่วน 2:1

การชำกิ่งในโรงเรือนพ่นหมอก แลพรางแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อณหภูมิภายในโรงเรือน อนุบาลเฉลี่ย 14-18 องศาเซลเซียส ความชื้นสม่ำเสมอ

ช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการขยายพันธุ์

- การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อใช้ระยะเวลาอยู่ในระหว่าง 20-30 วัน จะได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์

- การขยายพันธุ์โดยการปักชำ ถ้าปักชำในฤดูร้อน และฤดูฝนจะใช้เวลา 15-20 วัน แต่ถ้าปักชำในฤดูหนาวจะใช้วเลา 20-30 วัน

การเตรียมแปลง

ขุดพลิกหน้าดินทิ้งไว้ 10-15 วัน ถ้าเป็นดินที่เคยผ่านการปลูกมาแล้วควรอบดินฆ่าเชื้อก่อนปลูกด้วย บาซามิค – จี หรือใช้เครื่งอบไอน้ำ จากนั้นยกแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร สูง 15-20 เซนติเมตร และขุดร่องตามแนวขวางประมาณ 10 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 20-25 เซนติเมตร

การเตรียมดิน

ไฮเดรนเยียจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หากดินเป็นดินเหนียวและมีอินทรีย์วัตถุต่ำควรปรับปรุงโครงสร้างของดินโดยเติมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ปุยหมัก กาบมะพร้าวสับละเอียด ถ้าดินเป็นกรด ควรปรับเป็นด่างโดยใช้ปูนขาว หรือโดโลไมท์ ให้ค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-7.5

เทคนิควิธีการปลูก

ไฮเดรนเยียเป็นไม้ดอกที่มีการแตกหน่อจากดินทำให้มีทรงพุ่มกว้าง ดังนั้นการปลูกควรปลูกสลับฟันปลา ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว คือ 50x50 เซนติเมตร ขณะที่ต้นกำลังเจริญเติบโตกิ่งจะเบียดกันมากทำให้กิ่งมีขนาดเล็ก และเกิดโรคได้ง่ายควรทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือกิ่งที่จะให้ดอกประมาณ 7-10 กิ่ง ในหนึ่งต้นเมื่อปรับปรุงสภาพต้นสำหรับการตัดแต่งอาจตัดยอดเพื่อรักษาทรงพุ่มดดยตัดทิ้งประมาณ 1 นิ้ว สำหรับต้นเล็กและ 5 นิ้ว สำหรับต้นใหญ่

การดูแลรักษา 

การจัดการด้านความเข้มแสง

หลังจากปลูกควรพรางแสงด้วยซาแรน 50 เปอร์เซ็นต์ ไฮเดรนเยียบางสานพันธุ์ก้านจะสั้น ดังนั้นควรพรางแสง 50-70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ความเข้มแสงน้อยลงจะทำให้ก้านดอกยาวขึ้นได้มาตรฐาน

โรคและแมลงศัตรูพืช โรคที่สำคัญของไฮเดรนเยีย คือ

โรคใบจุด

การระบาด เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta หรือ Phoma sp. อาการเกิดที่ใบจะเป็นจุดวงซ้อนๆกัน เป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าพบที่กลีบดอกจะแสดงอาการจุดซ้อนเป็นวง

การป้องกันและกำจัด ตัดใบที่พบแล้วนำไปเผาหลังจากนั้นพ่นด้วยสาเคมี

โรคราแป้ง

การแพ่ระบาด เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. อาการจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ด้านหลังใบ และท้องใบ เมื่ออาการรุนแรงใบจะเป็นสีม่วงและหงิก

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นสารเคมีประเภทดูดซึมที่มีประสิทธิภาพในการใช้กำจัด

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของไฮเดรนเยีย คือ 

ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งใบและดอก ทำให้เกิดอาการด่างเป็นจุดๆ ที่ใบจะปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหงิกงอ ถ้าพบในดอกตูมจะทำให้ดอกชะงักการเจริญเติบโตไม่ยอมบาน และถ้าพบในดอกบานจะทำให้กลับดอกเหี่ยวแห้งเร็ว 

เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งใบและดอก ทำให้ใบหงิกงอ กลีบดอกช้ำ ดอกมีสีซีด

หนอน จะเข้าทำลายกัดกินใบและดอก

มวนลำไย ขับสารออกมาทำให้บริเวณใบอ่อนและดอกมีลักษณะรอยไหม้

การให้น้ำ

วิธีการให้น้ำ ควรให้ในตอนเช้าเพราะใบพืชสามารถแห้งได้เร็วใตอนสาย ซึ่งจะลดการระบาดของโรคบนใบได้ และควบคุมบริมาณน้ำในดินที่อยู่ในระดับที่ไม่แห้ง และไม่แฉะจนเกินไปจะมีผลดีต่อการเจริญเติบโตของระบบซึ่งจะส่งผลให้ดอกมีคุณภาพมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว 

 

ระยะการเก็บเกี่ยว

การสร้างดอกจะเริ่มในช่วงเดือนเมษายน และบานในต้นเดือนมิถุนายน หรืออย่างน้อยหากล่าช้าก็จะบานในช่วงปลายเดือนมิถุนายนแล้วแต่สายพันธุ์และความสมบูรณืของต้น ตัดเมื่อดอย่อยในช่อบานได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอกตัดแต่งใบที่โคนก้านใบออกให้เหลือใบที่ถัดจากดอกลงมา 2 คู่ใบ

วิธีการเก็บเกี่ยว

ในการเก็บผลผลิตควรเตรียมถังน้ำเข้าไปในแปลงด้วย เพื่อให้ดอกไดรับน้ำทันทีจากนั้นนำดอกมาตัดแต่งและคัดเกรดแล้วนำไปแช่สารเคมี นาน 3 ชั่วโมง เพื่อยืดายุการปักแจกันให้นานขึ้น

การจัดมาตรฐานดอก

เกรด 1 ความยาวก้านช่อ 30 เซนติเมตรขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลางพุ่มดอก 20 เซนติเมตรขึ้นไป

เกรด 2 ความยาวก้านช่อ 25 เซนติเมตรขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลางพุ่มดอก 15 เซนติเมตรขึ้นไป

เกรด 3 ความยาวก้านช่อ 20 เซนติเมตรขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลางพุ่มดอก 10 เซนติเมตรขึ้นไป

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวควรเป็นช่วงเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะถ้าหากเก็บเกี่ยวสายเกินไปแดจะแรงทำให้ดอกเหี่ยวง่าย

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 

การ Pulsing สารเคมีที่ใช้ แช่ไฮเดรนเยียเพื่อให้ดอกมีอายุการใช้งานนานขึ้น คือ 8 ไฮดอรกซีโนลีนซันเฟต กรดซิตริก และน้ำตาล

วิธีการเตรียมสารละลาย

1. นำ 8 HQS 200 ppm หรือ 0.02 กรัม ละลายในน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด 200 มิลลิลิตร แล้วคนให้ละลาย

2. นำกรดซิตริก 200 ppm หรือ 0.02 กรัม ละลายในน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด 200 มิลลิลิตร แล้วคนให้ละลาย

3. นำสารละลายข้อ 2 เทลงในสารละลายข้อ 1 คนให้เข้ากัน

4. น้ำตาล 20 กรัม เทในสารละลาย ข้อ 3. แล้วคนให้น้ำตาลละลายแล้วปรับปริมาณดดยการเติมน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด ให้ได้สารละลาย 1,000 มิลลิลิตร 

5. จะได้สารละลายแช่ไฮเดรนเยียปริมาตร 1 ลิตร

เมื่อได้สารละลายตามที่ต้องการแล้ว นำไฮเดรนเยียที่ตัดจากต้นแช่สารละลายที่เตรียมไว้นาน 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำดอกที่เช่สารละลายแล้วมาหุ้มโคนก้านด้วยสำลีชุบสารละลาย หรือใช้หลอดพลาสติกบรรจุสารละลายสวมโคนก้าน

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา

ถ้าเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิอยู่ในระหว่าง 5-7 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่เก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิไม่ควรเกิด 30 องศาเซลเซียส


เอกสารอ้างอิง :

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 375 หน้า.