องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ดีงูหล้า

ชื่อสามัญ   Bat flower

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tacca chantrieri Andr

วงศ์   TACCACEAE

ภาคเหนือ ดีงูหล้า ดีงูหว้า ภาคกลาง ว่านหัวฬา ดีงูหว้า ดีปลาช่อน นิลพูสี เนระพูสีไทย ค้างคาวดำ ภาคอีสาน ภาคใต้ มังกรดำ ม้าถอนหลัก ว่านพังพอน

ดีงูหล้าเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีเหง้าใต้ดิน รากมีปุ่มปมจำนวนมาก ใบเดี่ยวเจริญจากเหง้า รูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ดอกมีก้านชูสูงขึ้นจากกลางกอ สีม่วงดำคล้ายหัวค้างคาว มีใบประดับ 4 ใบ ใบประดับของดอกย่อยเรียงยาวเป็นเส้น 10-25 เส้น ผลเป็นแคปซูลยาว มีสัน 6 สัน ผิวสีม่วงดำคล้ายหนังค้างคาว เมล็ดสามเหลี่ยมสีม่วง

สภาพนิเวศ : ขึ้นในธรรมชาติ ตามป่าดิบแล้งหรือป่าดิบชื้น

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดหรือใช้เหง้าปลูก

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ดอกออกช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ชาวบ้านนิยมนำดอกและใบอ่อนมาย่างไฟหรือลวกกินกับน้ำพริกและลาบ ส่วนรากนำมาต้มน้ำดื่ม แก้ปวดหลัง ปวดเอว

แหล่งที่พบ : พบตามป่าธรรมชาติและริมห้วยรอบชุมชน

เกร็ดน่ารู้ : ดีงูหล้า มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้โรคความดันโลหิตต่ำ บำรุงครรภ์สตรี แก้ท้องเสีย และทำให้เจริญอาหาร