องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

บ่ากล้วยฤาษี (พลับป่า)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros glandulosa Lace

วงศ์   EBENACEAE

ปางมะโอ เรียกว่า กล้วยฤาษี จันป่า บ่าก้วยฤาษี  ภาคกลาง เรียกว่า พลับป่า ภาคอีสาน เรียกว่า มะเขือเถื่อน  ภาคใต้ - 

บ่ากล้วยฤาษีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนสาก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ผลมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลมแป้น มีขนคล้ายใยไหมปกคลุม เมื่อสุกสีเหลืองคล้ายลูกพลับ รสฝาด

สภาพนิเวศ : พบกระจายตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 750-1,500 เมตร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ติดตา และต่อกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ผลสุกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม นำมากินเป็นผลไม้ แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากมีรสฝาด 

แหล่งที่พบ :  พบในป่าดิบเขารอบชุมชน หรือในสวนเมี่ยง 

เกร็ดน่ารู้ : บ่ากล้วยฤาษีเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ใบต้มน้ำดื่ม ลดอาการหลอดเลือดแข็งตัว