องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ลิวโคสเปอร์มัม

ลิวโคสเปอร์มัม Leucospermum sp. เป็นไม้ดอกในกลุ่มดอกโพรเทียที่มีความสวยงามและนำมาปลูกกันมากเพื่อจำหน่ายเป็นการค้าในตลาดต่างประเทศ มูลนิธิโครงการหลวงได้นำเอาไม้ดอกชนิดนี้มาปลูกทดสอบบนที่สูง พบว่าบางพันธุ์สามารถเจริญเติบดตมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศและความนิยมในดอกไม้ชนิดนี้มีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ลิวโคสเปอร์มัมสามารถปลูกได้ในพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไปดินเป็นกรดและระบายน้ำดี ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง ชอบที่ที่มีแสงแดด ทนต่อลมแรงไม่ชอบที่ที่มีฝนตกมากเกินไป

การตลาด

เนื่องจากลิวโคสเปอร์มัมเป็นไม่ดอกที่มีรูปทรงสดุดตาและแปลก ทำให้เป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ดังนั้นความต้องการของตลาดจึงมรเพิ่มมากขึ้น

การขยายพันธุ์ ลิวโคสเปอร์มัมสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ

1. การเพาะเมล็ด

เพาะในกระบะเพาะ วัสดุเพาะ ได้แก่ ทรายหยาบ ขุยมะพร้าว ขี้เถาแกลบ อัตรา 1:1:1 ระยะเวลาใช้ในการเพาะประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มงอก

2. การปักชำ

ใช้กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนได้ผลดี ชำในวัสดุชำประกอบด้วย ขุยมะพร้าว ทราย ในอัตราส่วน 2:1 หรือใช้ขุยมะพร้าว ทราย และเม็ดโฟม ในอัตราส่วน 8:4:1 ใช้ฮอร์โมนแร่งรากที่เป็นการค้า เช่น รูสโกร ความเข้มข้น 3,000 ppm หรือใช้ฮอร์โมนในระดับความขมข้น NAA 2,000 ppm + IBA 2,000 ppm ระยะเวลาสำหรับการปักชำประมาณ 45-60 วัน

การเตรียมแปลงปลูกและวิธีการปลูก

การเตรียมแปลงและการเตรียมดิน ลักษณะของดินปลูกที่เหมสะสมควรเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีมีความเป็นกรด ควรมีทรายและหินผสมยู่บ้าง ระยะปลูก 2x2 เมตร ขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร ถ้าต้องการปลูกลงกระถางวัสดุต้องใช้ทราย และหินโม่ผสมลงไปด้วย

แสง

เนื่องจากลิวโคสเปอร์มัมเป็นไม้ดอกที่ชอบแสงแดดเต็มที่ ดังนั้นพื้นที่ปลูกควรเป็นที่โล่งแจ่งมีแสงแดดส่องได้ตลอดวัน ลิวโคสเปอร์มัมสามารถปลูกได้ทั้งในและนอกโรงเรือน แต่การปลูกในโรงเรือนภายใต้หลังคาพลาสติกจ่ะวยลดปัญหาเรื่องโรคได้

อุณหภูมิ

อุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ดอกที่มีคุณภาพดี อุณหภูมิกลางวันไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส กลางคืนประมาณ 15 องศาเซลเซียส

โรคและแมลง

โรคเน่าคอดินเกิดจากเชื้อรา Fusalium sp.

การป้องกันกำจัด ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าถ้าโรคเกิดที่ดินเก่าอาการไม่รุนแรงให้ขุดบริเวณรอนต้นแล้วใส่เชื้อเตรโครเดอร์ม่าลงไปแต่ถ้าพบอาการเป็นมากแล้วให้ขุดทิ้งและเผาทำลาย

อาการปลายใบไหม้เป็นสีน้ำตาลแห้งใบเป็นจุดค่อนข้างกลม

เกิดจากเชื้อ Pestalotiopsis sp.

การป้องกันและกำจัด ตัดแต่งใบและส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วนำไปเผาทำลาย ควบคุมโดยใช้สารเคมีประเภทไดเทนเอ็ม-45 หรือดาโคนิล สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อพบอาการ

แมลงที่พบ ส่วนใหญ่เป็นแมลงปีกแข็ง กัดกินยอดอ่อนในช่วงฤดูฝน

การให้น้ำและปุ๋ย

ในช่วงฤดูร้อน และฤดูหนาวจะให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนฤดูฝนควรสังเกตอย่าให้น้ำท่วมขังเป็นสาเหตุของโรคเน่าได้

ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 10 กรัม/ต้น เดือนละ 1 ครั้ง และพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะการเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาการให้ผลผลิตของลิวโคสเปอร์มัมแต่ละลายพันธุ์แตกต่างกันไปส่วนผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ต่ถ้าสายพันธุ์ Tango ให้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน แต่สายพันธุ์ Scalet Ribbon ให้ผลผลิตในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธุ์ Caroline สามารถเก็บผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

วิธีการเก็บเกี่ยว

ตัดเมื่อส่วนของเกสรตัวเมียบานประมาณครึ่งหนึ่งของดอกย่อยบนช่อดอก คุณภาพดอกและใบต้องไม่มีตำหนิมีก้านตรง

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว

สามารถตัดได้ตลอดทั้งวัน เพราะพืชกลุ่มนี้ก้านดอกเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนต่อการขาดน้ำได้ดี เนื่องจากไม้ดอกชนิดนี้เป็นไม้เนื้อแข็ง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวจึงไม่ยุ่งยาก เมื่อตัดมาจากต้นควรเช่น้ำทันทีสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียสได้ 3-4 สัปดาห์ ถ้าต้องการนำไปใช้เป็นดอกม้แห้งให้แขวนไว่ในร่มที่มีการถ่ายแทอากาศได้ดี เมื่อแงสามารถนไปใช้ประโยชน์ได้อาจมีการย้อมสีเพื่อให้มีสีสวยงาม


เอกสารอ้างอิง :

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 375 หน้า.