องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

หญ้าคออ่อน

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Crassocephalum crepidioides  (Benth.) S.Moore

วงศ์   COMPOSITAE

ภาคเหนือ ผักกาดช้าง ผักก้านง๊อก ผักเผ็ดแม้ว หญ้าคออ่อน ภาคกลาง พม่าตีเมีย  ภาคอีสาน หญ้าดอกคำ ภาคใต้ หญ้าดอกฟุ้ง

หญ้าคออ่อนเป็นพืชล้มลุก มีริ้วหรือจุดสีม่วงเข้มตามลำต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นออกตามปลายยอดหรือกิ่ง เมล็ดแก่มีขนสีขาวช่วยกระจายพันธุ์

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ชุ่มชื้น ที่โล่งริมถนน และแปลงเกษตร

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน นำมาแกงแค แกงใส่ปลาแห้งหรือเนื้อแห้ง บ้างนำมาลวกหรือกินเป็นผักสดกับน้ำพริกปลาทู มีกลิ่นเฉพาะตัว ดับกลิ่นคาว และช่วยให้เจริญอาหาร

แหล่งที่พบ : พบขึ้นทั่วไปตามริมถนน แปลงผักสวนครัว และพื้นที่เกษตรรอบชุมชน

เกร็ดน่ารู้ : หญ้าคออ่อนในภาคกลางเรียกว่า “พม่าตีเมีย” ตามตำนานเล่าว่า มีพ่อค้าชาวพม่าผู้หนึ่งชอบกินผักชนิดนี้มาก หากวันไหนไม่มีผักชนิดนี้กินก็จะต้องทุบตีเมียทุกวัน ชาวบ้านจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า “พ่อค้าตีเมีย” หรือ “พม่าตีเมีย”