การผลิตหัวพันธุ์กระเทียมโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี
กระเทียม (Garlic; Allium sativum Linn.) พืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทย โดยปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเหมาะสมกับการปลูกกระเทียม (ไฉน, 2542) โดยมีพื้นที่ปลูก 70,927 ไร่ หรือร้อยละ 98 ของพื้นที่ปลูกกระเทียมทั้งประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) ปัจจุบันหัวพันธุ์กระเทียมไทยมีราคาสูงหรือมีปริมาณจำกัด เนื่องจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อเร่งให้กระเทียมหัวใหญ่ มีน้ำหนักมากทำให้สิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ประกอบกับปัญหาเรื่องโรคและแมลงส่งผลต่อคุณภาพทำให้หัวฝ่อ อายุการเก็บรักษาสั้น ถูกกดราคารับซื้อและที่สำคัญคือขาดแคลนหัวพันธุ์กระเทียมสำหรับปลูกในฤดูถัดไป ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน (2557) รายงานว่าการจัดการธาตุอาหารโดยตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก แล้วใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน และใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ถึงร้อยละ 50 ทั้งยังทำให้ได้ผลผลิตกระเทียมเพิ่มขึ้นไร่ละ 200 กก. ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรมีหัวพันธุ์กระเทียมที่มีคุณภาพและมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวขึ้น ไม่ฝ่อ ตลอดจนมีกระเทียมที่ปลอดภัยจากสารเคมีสำหรับบริโภค ทางโครงการวิจัยจึงศึกษาและทดสอบวิธีการผลิตหัวพันธุ์กระเทียมที่เหมาะสำหรับพื้นที่สูงโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและทดแทนด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งอาจเป็นแนวทางให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการซื้อหัวพันธุ์โดยการเก็บรักษาหัวพันธุ์กระเทียมจากแหล่งเดิมสำหรับปลูกในฤดูถัดไปได้
ขั้นตอนการผลิตหัวพันธุ์กระเทียม ดังนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
เขียน / เรียบเรียงเรื่อง: ดร.จันทร์จิรา รุ่งเจริญ