องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

กิจกรรมวันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน วันที่ 14-16 สิงหาคม 2562

     ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงบนฐานขององค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานพัฒนาพื้นที่สูงและสามารถขยายผลสำเร็จของการทำงานของสถาบันอย่างกว้างขวาง โดยกิจกรรมที่สำคัญของสถาบันอีกกิจกรรมหนึ่งคือ กิจกรรมวันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนจัดระหว่างวันที่    14 -16 สิงหาคม 2562 ได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานโดย นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี และกล่าวรายงานโดย นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษฏ์ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 1,357 คน ซึ่งกิจกรรมภายในงานจะเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่สถาบันเพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ต่างๆ ไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ การนำเสนอผลงานเด่น/ผลสำเร็จจากงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง การจัดแสดงนิทรรศการผลงานเด่นด้านการพัฒนาพื้นที่สูงของสถาบันเน้นผลงานเด่นจากการดำเนินงานของสถาบัน ทั้งในส่วนของงานวิจัย งานพัฒนา และงานสนับสนุนอื่นๆ ที่สอดคล้องตามนโยบายที่สำคัญ กิจกรรมด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร เจ้าหน้าที่ ผู้แทนหน่วยงาน และผู้ที่สนใจ มีมุมสาธิตองค์ความรู้โครงการหลวงและสถาบันเช่น การขยายพันธุ์พืช การทำฮอร์โมนสำหรับพืช การตัดแต่งกิ่งไม้ผล เป็นต้น และกิจกรรมการประกวดต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงกิจกรรมอาสาทำความดี

การนำเสนอผลงานเด่น/ผลสำเร็จจากงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โดยผู้นำเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สถาบันทั้งหมดจำนวน 12 ผลงาน ได้แก่

     1. ห้วยเป้า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เบ็น เป็นสุข" นำเสนอโดย นายเติง ขัติหลง ผู้ใหญ่บ้านห้วยเป้า โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า จ.เชียงใหม่

     2. “แม่วากโมเดล” ต้นแบบในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการฟื้นฟูป่า สร้างป่าสร้างรายได้ นำเสนอโดย นายบุญสี กาไว ผู้ใหญ่บ้านแม่วาก โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ จ.เชียงใหม่

     3. แม่จริม ชุมชนลดการเผาด้วยวิถีเกษตรตามแนวทางโครงการหลวง นำเสนอโดย นายมนัส กุณนา นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม จ.น่าน

     4. ก้าวเล็กๆ ในคลองลาน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง นำเสนอโดย นางสาวนนทลี พรศักดิ์ศิริกุล โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน จ.กำแพงเพชร

     5. การบริหารจัดการกลุ่มผักอินทรีย์ชุมชนห้วยเขย่ง นำเสนอโดย นายยาว นายสว่าง โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่ง จ.กาญจนบุรี

     6. บทบาทผู้นำเกษตรกร: ผู้ขับเคลื่อนงาน สวพส. มุ่งสู่การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน นำเสนอโดย นายสรรภกรณ์ พิมพ์พวง โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี จ.เชียงราย

     7. สหกรณ์เปลี่ยนชีวิตพัฒนาธุรกิจ พัฒนาชีวิตเกษตรกร นำเสนอโดย ผู้นำเกษตรกรโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ จ.ตาก

     8. ข้าวนาและกาแฟเพื่อการดูแลป่าอย่างยั่งยืน นำเสนอโดย นางสาวสายไหม ใจปิง และคณะ  โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ จ.น่าน

     9. พลิกฟื้นพื้นที่สีแดงเป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์ของพระราชา นำเสนอโดย นายศุภฤกษ์ บุญประสพ และคณะ โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน จ.เลย

     10. การปรับระบบแปลงเกษตรเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดแบบยั่งยืน นำเสนอโดย นายประชัน  บรรจง และคณะ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ บ้านห้วยโป่งพัฒนา อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

     11. สถานีตรวจวัดสภาพภูมิอากาศอัตโนมัติเพื่อการวิเคราะห์และการวางแผนการปลูกพืชอย่างแม่นยำ นำเสนอโดย นายจุฑาธิป ศิโรรส และคณะ ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ

     12. ระบบการจัดการน้ำในเมล่อนอย่างง่าย นำเสนอโดย นายสุทธิรักษ์ อุปนันท์ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า จ.เชียงใหม่

 

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานเด่นด้านการพัฒนาพื้นที่สูงของสถาบัน โดยเน้นผลงานเด่นจากการดำเนินงานของ สวพส.ทั้งในส่วนของงานวิจัย งานพัฒนา และงานสนับสนุนอื่นๆ ที่สอดคล้องตามนโยบายสำคัญต่างๆ โดยมีการจัดแสดงตัวอย่างผลผลิต/ผลงานจริง และกิจกรรมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบริเวณนิทรรศการ

 

กิจกรรมการประกวดต่างๆ เพื่อเป็นกิจกรรมในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 5 กิจกรรมประกอบด้วย

     1. การประกวดคลิปสั้น แสดงผลงานเด่นของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่สถาบัน โดยเป็นผลงานเด่น/ผลสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกับสถาบัน ผลการประกวดทั้งหมด 9 รางวัล ได้แก่

     2. การประกวดโปสเตอร์ผลงานเด่น การพัฒนาพื้นที่สูงด้านต่างๆ โดยโปสเตอร์ผลงานเด่นของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่ส่งแสดงผลงาน จำนวนผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดจำนวน 90 ผลงาน จำแนกผลการตัดสินทั้งหมด 4 ด้าน ด้านละ 3 รางวัล รวมรางวัลผลงานทั้งหมด 12 รางวัล ได้แก่

     3. การประกวดผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่สถาบัน

     4. การประกวดเมนูอาหารจากวัตถุดิบบนพื้นที่สูง

     5. การประกวดภาพถ่ายจากการทำงานของสถาบัน โดยชมรมถ่ายภาพ

 

กิจกรรมอาสาทำความดี โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะการเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม การร่วมกันดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในบริเวณอุทยานหลวงราชพฤกษ์และบริเวณใกล้เคียง โดยมีกิจกรรมดังนี้

            1) ร่วมกันเก็บขยะบริเวณรอบอุทยานหลวงราชพฤกษ์ บริเวณแยก สวพ.1 ถึงวงเวียนช้าง และบริเวณราชพฤกษ์เพลสถึงปู่แสะย่าแสะ

            2) ร่วมกันทำความสะอาดรางระบายน้ำบริเวณวงเวียนช้างถึงราชพฤกษ์เพลส