ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่น มะเขาควาย
มะเขาควาย หรือชื่อท้องถิ่น มะเขาวัวชื่อวิทยาศาสตร์ Dittoceras maculatum Kerr วงศ์ APOCYNACEAE เป็นพืชไม้เถาเลื้อยยาว มักเลื้อยพาดตามต้นไม้ใหญ่ ในทุกส่วนของมะเขาควายจะมีน้ำยางสีขาวลักษณะเหมือนน้ำนม ใบเดี่ยวรูปรี ปลายใบแหลม ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อสีขาวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนผลจะออกเป็นฝักคู่ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายน ชอบขึ้นในป่าดิบเขาที่มีความชื้น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ พบที่บ้านแม่แจ๊ะ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ พบที่บ้านห้วยโทน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,200 เมตร
มะเขาควาย ถือเป็นโอกาสการสร้างเศรษฐกิจชุมชน จากฐานชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งปัจจุบันนอกจากชุมชนจะนำมารับประทานสด หรือแปรรูปเป็นมะเขาควายดอง หรือแช่อิ่มขายกิโลกรัมละ 80-100 บาท แล้ว บางพื้นที่ยังเป็นผลไม้ส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น อเมริกา เป็นต้น ซึ่งช่วงไหนที่มีผลผลิตออกเยอะ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ถึงหลักหมื่นบาทต่อเดือน
คุณค่าทางโภชนาการของมะเขาควาย จำนวน 100 กรัม จะให้พลังงาน 38.72 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 8.06 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม มีเส้นใย 4.28 กรัม แคลเซียม 112.6 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62.4 มิลลิกรัม และเบต้าแคโรทีน 70.61 ไมโครกรัม
ลักษณะของมะเขาควาย
ลำต้น |
|
ใบ | |
|
ผล | |
|
การใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาชาติพันธุ์ของ "ม้ง" และ "ลั้วะ"
การใช้ประโยชน์ | ม้ง | ลั้วะ |
ผล | นำมาดอง หรือรับประทานสด ผลสดช่วยแก้ไข รักษาโรคไต ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า | นำมาดอง หรือรับประทานสด |
ยางจากผล | รักษาโรคกระเพาะ (ทานผลสดโดยไม่ต้องล้างยาง) | แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงกำลังเพศชาย |
เถาและใบ | นำมาตากแห้งหรือใช้สด ต้มน้ำอาบและดื่ม ช่วยรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต | - |
เถา | หั่นต้มน้ำเดือดในภาชนะที่มีคราบหินปูนเกาะ ทำให้หินปูนหลุด | - |
------------------------------------------------------