องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เอ็นไดว์

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cichorium endiviaL.

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Endive, escarole

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]

ลักษณะทั่วไป

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร นำส่วนใบมารับประทาน นิยมใส่ในสลัด แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิช หรือใช้ตกแต่งในจานอาหาร ในช่วงฤดูหนาวจะให้ผลผลิตมาก

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว : [2]

ช่วงเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 60 วัน ต้นแผ่ออกมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร หรือตามตลาดต้องการ

การเก็บเกี่ยว

  1. เก็บเกี่ยวเมื่ออายุเหมาะสม
  2. ตัดแต่งโดยการตัดใบนอกที่เหลืองหรือมีตำหนิออก
  3. จัดชั้นคุณภาพตามที่กำหนด
  4. บรรจุลงในตะกร้าพลาสติกกรุรองด้วยกระดาษทั้งตะกร้า
  5. ลดอุณหภูมิจนถึง 1 – 2 องศาเซลเซียส
  6. ขนส่งโดยรถห้องเย็น

ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ คุณภาพขั้นต่ำ เป็นเอ็นไดว์ทั้งต้น มีรูปร่างและสีตรงตามพันธุ์ สด สะอาด ไม่มีตำหนิจากโรคหรือแมลง ไม่แสดงอาการปลายใบไหม้ ไม่เปียกน้ำ ไม่มีเส้นใยมาก แก่พอดี ไม่แทงช่อดอก ปลอดภัยจากสารเคมี

 การจัดชั้นคุณภาพ

ชั้นหนึ่ง    1. น้ำหนักของต้น 300 กรัมขึ้นไป ใบยาวไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

          2. ใบมีสีเขียวอ่อน หรือค่อนมาทางขาว

          3. ใบและก้านกรอบ

          4. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ชั้นสอง    1. น้ำหนักของต้น 200 – 300 กรัม ใบยาวไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

         2. ใบมีสีเขียวอ่อน หรือค่อนมาทางขาว

         3. ใบและก้านกรอบ

         4. มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ

ชั้น U    1. น้ำหนักของต้นน้อยกว่า 200 กรัม ใบยาวไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

         2. ใบและก้านกรอบ ไม่มีเส้นใยมาก

         3. ปลอดภัยจากสารเคมี

ข้อกำหนดในการจัดเรียง เอ็นไดว์ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน ชั้นคุณภาพเดียวกันและมีคุณภาพสม่ำเสมอ

การเตรียมสู่ตลาด

1. ตัดแต่งใบนอกออกให้หมดและกำจัดตำหนิเล็กน้อยที่เกิดระหว่างขนส่ง

2. ตัดโคนลำต้นออกเพื่อให้ดูสดชื่น

3. จำหน่ายโดยบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรู

การเก็บรักษา อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90 - 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 1 – 2 สัปดาห์ (เอ็นไดว์ไม่เหมาะที่จะเก็บรักษาในระยะเวลายาวนาน)

ช่วงเวลาที่มีผลผลิต : ม.ค. - ธ.ค.

 

เอกสารอ้างอิง :

[1] หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง มูลนิธิโครงการหลวง

[2] ตุลาคม 2545.คู่มือการจัดชั้นคุณภาพผัก.กองพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์