องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

สารพัน ไม้ รักษ์ สิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบัน พื้นที่สูง กำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ดินเสื่อมโทรม สารพิษปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ หมอกควัน พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืชลดลง รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง ดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องใส่ใจ

แม้เป็นวิกฤติ...แต่ก็ไม่สายไปที่จะแก้ หากทุกคนร่วมมือกัน

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน บรรเทา แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คือ การปลูก “ต้นไม้”

ต้นไม้ แม้เพียงหนึ่งต้น ให้ประโยชน์มากมายหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

1. ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้เฉลี่ย 9 - 15 กิโลกรัม/ปี

2. ดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ได้ 1.4 กิโลกรัม/ปี

3. ดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 2-4 °C

4. สามารถปล่อยก๊าซออกซิเจน (O2) ได้ถึง 200,000 – 250,000 ลิตร/ปี ซึ่งรองรับความต้องการก๊าซออกซิเจน ของมนุษย์ได้ถึง 2 คน/ปี

5. ดูดซับก๊าซที่เป็นพิษต่อร่ายกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นต้น

6. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร และยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศ

7. รากต้นไม้ช่วยยึดดิน ดูดซับน้ำและแร่ธาตุ ช่วยป้องกันการพังทลายจากดินถล่ม รวมถึงการ

กักเก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน

" ตามมาดูกันว่า..... มีพรรณไม้หรือพรรณพืช ชนิดไหนบ้าง ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ

ดักจับฝุ่น"

ลักษณะของพรรณไม้ที่ช่วยดักจับฝุ่น และช่วยกรองอากาศ ควรเป็น

• ไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มที่ใบมีลักษณะเรียวเล็ก มีผิวหยาบหรือมีขนและเหนียว จะมีประสิทธิภาพมากกว่าผิวเรียบมัน

• ต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบจะมีประสิทธิภาพดีกว่าไม้ผลัดใบ

• พืชที่มีผิวใบโดยรวมมากกว่าจะสามารถดักจับฝุ่นละอองได้มากกว่าพืชที่มีผิวใบน้อย ดังนั้น ต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มที่มีใบขนาดเล็กจำนวนมากจึงมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองสูงกว่าต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่

ได้แก่ ไผ่รวก พฤกษ์ ขี้เหล็กเลือด ปอกระสา ตะลิงปลิง โมกหลวง โมกมัน

สกุลชงโค ขี้เหล็กบ้าน ตะแบก อินทนิล เสลา จามจุรี ประดู่ กัลปพฤกษ์ สัก แคแสด ชมพูพันธุ์ทิพย์พังแหร

ดูดซับสารพิษในดิน

  • แฝก ช่วยดูดซับแคดเมียม โดยส่วนที่สะสม ได้แก่ รากและลำต้น
  • กล้วยน้ำว้า ช่วยดูดซับสารหนู โดยส่วนที่สะสม ได้แก่ ราก ลำต้นและใบ