องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ผักกาดหอมห่อ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lactucasativa var. capitata 

ชื่อสามัญ  Head Lettuce, Iceberg, Crisp Lettuce

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : [1]

ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอมห่อเป็นผักสีเขียวค่อนข้างอ่อน ใบห่อเป็นหัว เนื้อใบหนากรอบเป็นแผ่นคลื่น เป็นพืชที่ปลูกง่าย ตลาดมีความต้องการสูง เป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นผักที่มีใบบางกรอบ รสหวาน ไม่เหม็นเขียว และมีน้ำมาก

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร ผักกาดหอมห่อเหมาะสำหรับรับประทานสดในสลัด สเต็ก หรือหากจะนำมาผัด หรือต้ม ลวกเป็นเครื่องเคียงก็ดี เนื่องจากใบจะนิ่ม และเครื่องปรุงรสจะแทรกซึมได้ดี ที่สำคัญเป็นผักที่มีฮีโมโกลบิน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม :  [1]

ผักกาดหอมห่อเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 – 24 องศาเซลเซียส ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถูสูง   หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด - ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.0 - 6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่งและได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่  เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การปฎิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

 

กิจกรรม                                   วิธีปฎิบัติ

การเตรียมดิน           ขุดดินตากแดดและโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 0 – 100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย

                     ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม.ใส่ปุ๋ย 12 – 24 – 12 และ 15 – 0 – 0 อัตรา 50 กก./ไร่ สัดส่วน 1 : 1 (รองพื้น)

                     ปุ๋ยคอกอัตรา 2 – 4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า          เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3 – 4 อาทิตย์

การปลูก              ระยะปลูก 30x30 ซม. 3 แถว  ในฤดูร้อน และ 40 x 40 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน (เพื่อป้องกันการระบาดของโรค )

                     ข้อควรระวัง

                     1. อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำ ไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย

                     2. อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี 

                     3. กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30วัน เมื่อย้ายปลูก

                     4. ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ 

                     5. ก่อนใส่ปูนขาวหรือดินโดโลไมค์ต้องวัด pH ก่อนช่วงเตรียมดิน

                     6. หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีด

การให้น้ำ             ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า

การให้ปุ๋ย           หลังปลูก 7 วันใส่ปุ๋ย 46 – 0 – 0 หรือผสม 15 – 15 – 15  อัตรา 50กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช  

                  หลังปลูก 20   - 25 วัน ใส่ปุ๋ย13 – 13 – 21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก  2 – 3 ซม.รัศมีจากต้น10 ซม.

                  โรยปุ๋ย1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ

                     ข้อควรระวัง

                     1. ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tipbrun)

                     บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง

                     2. การพรวนดิน ระวังอย่ากระบทกระเทือนรากหรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์

                     3. ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก

                     4. ไม่ควรปลูกซ้ำที่

การเก็บเกี่ยว         เมื่อมีอายุ ได้ ประมาณ 40 – 60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้หลังมือกดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้ (กดยุบแล้วกลับคืน

                  เหมือนเดิม ) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบเพื่อ ป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บ

                  เกี่ยวตอนเปียกควรเก็บเกี่ยวตอนบ่ายหรือค่ำ แล้วผึ่ง ลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้อง

                  กันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัวอย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก

                    ข้อควรระวัง

                    1. ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2 – 3 วัน เพราะเน่าง่าย

                    2. เก็บซากต้นนำไปเผาหรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะการเจริญเติบโต/  ระยะหยอดเมล็ด   ระยะการเจริญเติบโต      ระยะห่อหัว            ระยะเก็บเกี่ยว

โรคและแมลง        0-25 วัน       20 - 25 วัน           30-35 วัน             50-55 วัน

หนอนกระทู้ดำ        x            x         

หนอนชอนใบ        x            x                     x                   x

หนอนกินใบ                      x                     x                   x

โรคใบจุดเซอคอส                   x                     x                   x

โรคใบจุดเชพโต                    x                     x                   x

โรคต้น/หัวเน่า                                          x                    x

ปลายใบไหม้                     x                     x                    x

ช่วงเวลาที่มีผลผลิต : ม.ค. - ธ.ค.

 

เอกสารอ้างอิง : หนังสือเรื่องการปลูกผักบนพื้นที่สูง มูลนิธิโครงการหลวง