ก๋อย (กลอย)
ชื่อสามัญ Asiatic bitter yam
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst. var hispida
วงศ์ DIOSCOREACEAE
ภาคเหนือ ก๋อย กลอยนก ภาคกลาง กลอย ภาคอีสาน กลอยข้าวเหนียว ภาคใต้ กลอยข้าวเจ้า กลอยหัวช้าง
ก๋อยเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นมีหนามเล็กๆ กระจายทั่วไป ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปรีปลายแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ผลคล้ายมะเฟือง มี 3 พู เมล็ดกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ด หัวใต้ดินทรงกลมรี เปลือกหัวบาง ผิวสีเหลืองอ่อนหรือเทาอ่อน มีรากฝอยติดอยู่ประปรายทั่วทั้งหัว เนื้อในมี 2 สี สีขาวเรียกว่า “ก๋อยหัวข้าวเหนียว” สีครีม เรียกว่า “ก๋อยไข่ หรือ ก๋อยเหลือง”
สภาพนิเวศ : พบทั่วไปตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดิบเขา โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสาน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและแยกหัว
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : นำหัวสดฝานเป็นแผ่นบางล้างน้ำหลายๆ ครั้ง แล้วนำไปแช่ในน้ำไหลประมาณ 1 อาทิตย์จากนั้นนำมาตากให้แห้ง จึงจะสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่นนึ่งกินกับข้าวเหนียว หรือนึ่งกับฟักทองจิ้มกับน้ำตาลเป็นของหวาน
แหล่งที่พบ : พบขึ้นในป่ารอบชุมชน
สาระน่ารู้ : ก๋อยมีสารพิษ dioscorine ซึ่งมีพิษด่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ปากคอบวม เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มการหายใจ กระตุ้นการหลั่ง 5-HT ทำใช้ชักและอาจจะถึงตายได้ แต่เป็นสารที่ละลายน้ำได้และขจัดออกด้วยความร้อน