องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

กระบวนการจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

KM: การจัดการความรู้

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้มีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเกษตรและมีการสั่งสมความรู้ในด้านวิชาการ และประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น "องค์ความรู้" ที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งในการพัฒนาพื้นที่สูง

การจัดการความรู้ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่อยู่ในองค์กร ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประาสบการณ์และการเรียนรู้ โดยการแก้ปัญหาจะช่วยในการตัดสินใจ มีการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาปรับให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้กับโครงการหลวง เพื่อรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างเหมาะสม ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ โดยดำเนินงานสร้างให้เกิดกระบวนการและกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริม และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้แห่งการเรียนรู้ อันจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของสถาบัน เกษตรกร และผู้ที่สนใจสามารถนำมาใชประโยชน์

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

1. การกำหนดความรู้ (Knowledge Identification)
การกำหนดนิยามของสิ่งที่องค์กรต้องการให้บุคลากรเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร

2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquistion)
สร้างความรู้ใหม่ๆ และนำความรู้ที่เราต้องการมาจัดเก็บรวบรวม

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
การนำความรู้ที่รวบรวมมาจัดประเภทเพื่อสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน

4. การประมวลและกลั่นกรององค์ความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
การทำให้เนื้อหาความรู้มีคสวามสมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
การนำความรู้มาใช้งานให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
มีการแบ่งปันความรู้ให้กัน

7. การเรียนรู้ (Learning)
นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และช่วยพัฒนาองค์กร จะทำให้เกิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง