องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

บ้านปางต้นผึ้ง-วาวี มั่นคงด้วยอาหาร ธนาคารในป่า รักษาทรัพยากร

แนวคิดสำคัญเกิดจากความต้องการพัฒนาศักยภาพของคนในตำบลให้บริหารจัดการการเงินด้วยตัวเอง ส่งเสริมเรื่องการออมให้กับคนในพื้นที่ชุมชนมีวินัยในการออม ลดปัญหาหนี้นอกระบบมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในพื้นที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกและครอบครัว

เปิดการเรียนรู้

กันยายน 2567

สถานที่

บ้านปางต้นผึ้ง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 50100

โดย

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง "วาวี"

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงวาวี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 99.4 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 60B ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 0.4 กลุ่มชุดดินที่ 46D ร้อยละ 0.1 และกลุ่มชุดดินที่ 47C 0.1 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 46.20 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินฟิลไลต์ หินดินดานเนื้อปนถ่าน หินทรายถูกแปรสภาพบ้าง

  1. xxxxx
  2. bbbbb
  3. ccccc
  4. eeeee
  5. fdsfds fdsfdsf

  • fdsf dsf ds
  •  fdsf dsf
  •  fdsf ds
  • f sdf
  • fdsfdsf

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงวาวี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 99.4 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 60B ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 0.4 กลุ่มชุดดินที่ 46D ร้อยละ 0.1 และกลุ่มชุดดินที่ 47C 0.1 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 46.20 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินฟิลไลต์ หินดินดานเนื้อปนถ่าน หินทรายถูกแปรสภาพบ้าง

A = จุดเริ่มต้น B = แหล่งเรียนรู้

ประวัติความเป็นมา ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีการตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณปี พ.ศ.2460 แต่เดิมบ้านวาวีมีชื่อเดิมว่า บ้านหวะวี เป็นภาษามูเซอร์ แปลว่าป่าของหนู เริ่มแรกเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชาวเขาเผ่ามูเซอร์และเผ่าลีซออาศัยอยู่ ซึ่งมีความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก ต่อมามีชาวเขาเผ่าเย้า กะเหรี่ยง อาข่า และจีนฮ่อ เริ่มทยอยเข้ามาอาศัยอยู่รวมกลุ่มกัน จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้น ต่อมาสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 ได้นำเสนอให้โครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูงเข้าดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงดอยวาวีและมีการประสานขอข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนา และสภาพปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด จากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิโครงการหลวงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเข้าดำเนินการโครงการขยายผลโครงการหลวงต่อไป โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงวาวีในปี 2548 ซึ่งเดิมเรียกว่า ""โครงการขยายผลโครงการหลวงวาวี"" ต่อมาโครงการขยายผลโครงการหลวงวาวีได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น ""โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงวาวี"" ตามประกาศสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559 ด้วยภารกิจของมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปรียบเหมือนการส่องกระจก ซึ่งต้องมีการดำเนินงานร่วมกันด้วยหลักการ 4 ข้อ คือ 1) พอมีพอกิน 2)สินค้ามีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3)การจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและ 4) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำและป่าไม้ ที่ตั้งโครงการ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวีมีสำนักงานโครงการตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลวาวี โดยอยู่ห่างจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ระยะทาง 176 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สรวย ระยะทาง 32 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร สำหรับทางเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านบางพื้นที่ในตำบลวาวี สภาพถนนยังเป็นดินลูกรัง บางเส้นทางไม่สามารถใช้สัญจรได้ในฤดูฝน"